โปรแกรมคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ยหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559-2560) เพื่อวางแผนการเรียนด้วยตนเอง

ผู้แต่ง

  • ศิริโฉม ดำรงเสถียร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

การพัฒนาโปรแกรมคำนวณ, ค่าระดับคะแนนเฉลี่ย, หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต, การวางแผนการเรียนด้วยตนเอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. พัฒนาโปรแกรมคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ย หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559-2560) และ 2. ประเมินความพึงพอใจการใช้งานโปรแกรมคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ยจากนักศึกษาของแต่ละหลักสูตร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีประชากร ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (ค.อ.บ.) จำนวน 5 หลักสูตร ประชากรรวม 1,232 คน งานวิจัยนี้มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 5 หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต 5 หลักสูตร จำนวน 300 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) และ การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) และมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. โปรแกรม Excel สำหรับคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ย 2. แบบประเมินความพึงพอใจการใช้งานโปรแกรมคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ยรูปแบบออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาโปรแกรมคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ย หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559-2560) พบว่า โปรแกรม Microsoft Excel สำหรับคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ยของแต่ละหลักสูตรมีความถูกต้องตรงกับผลคะแนนจริงของสำนักทะเบียนและประมวลผล สอดคล้องกับข้อบังคับสถาบันว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2564 2. การประเมินความพึงพอใจโปรแกรมคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ยจากนักศึกษาของแต่ละหลักสูตร พบว่า ระดับความพึงพอใจในระดับมากเพราะใช้งานได้ง่าย มีคำเตือนชัดเจน สามารถเปลี่ยนแปลงคะแนนที่คาดว่าจะได้รับเพื่อคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมใหม่ได้ทันที ผู้ใช้งานนำโปรแกรมนี้ไปใช้เพื่อวางแผนการเรียนได้ด้วยตนเองตลอดหลักสูตรตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาจนสำเร็จการศึกษา ทั้งด้านการคิดค่าระดับคะแนนเฉลี่ยประจำภาค ค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม การลงทะเบียน การเพิ่ม เปลี่ยน ถอนรายวิชาการวางแผนสำหรับค่าระดับคะแนนเกียรตินิยม และโปรแกรมนี้ใช้เป็นต้นแบบสำหรับหลักสูตรอื่น ๆ ในการคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ยได้

References

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. (2559). หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

_____. (2560). หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์การออกแบบ (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า. (2557). การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS (Statistics Package for the Social Sciences). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้าวิชาการ.

วิภาวัลย์ จันทะเลิศ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของพนักงานในบริษัทผลิตซอฟต์แวร์ (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักทะเบียนและประมวลผล. (2564). ข้อบังคับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ว่าด้วยการศึกษาระดับ ปริญญาตรี พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

แสนศักดิ์ หัสคำ. (2559). การพัฒนาโปรแกรมสนับสนุนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้.วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 57-70.

อนุรักษ์ โชตดิลิก และคณะ. (2560). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมประเมินผลการศึกษาของกองทัพอากาศ (RTAF-EEP). วารสารวิชาการนายเรืออากาศ, 13(13), 3-15.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01

How to Cite

ดำรงเสถียร ศ. (2024). โปรแกรมคำนวณค่าระดับคะแนนเฉลี่ยหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559-2560) เพื่อวางแผนการเรียนด้วยตนเอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(5), 319–332. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/269255