การประกวดชุดประจำชาติมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2023 กับการสื่อสารอัตลักษณ์ท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • วรพงษ์ ปลอดมูสิก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

มิสแกรนด์ไทยแลนด์, ชุดประจำชาติ, การสื่อสาร, อัตลักษณ์ท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการศึกษาเรื่องชุดประจำจังหวัดผู้เข้าประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2023 กับการสื่อสารอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อวิเคราะห์การสื่อสารอัตลักษณ์ท้องถิ่นผ่านชุดที่ผู้เข้าประกวดสวมใส่ทั้ง 77 จังหวัด ซึ่งชุดประจำจังหวัดของผู้เข้าประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ในการประกวดรอบชุดประจำชาติ ถูกสร้างสรรค์เพื่อเน้นการสื่อสารอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ผลการวิเคราะห์เนื้อหาจากบทบรรยายชุดผู้เข้าประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2023 สามารถแบ่งประเภทของการนำเสนอออกเป็น 7 ประเภท คือ ด้านคติความเชื่อ ด้านวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยว สัตว์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ด้านประเพณี อาหารประจำถิ่น และวีรบุรุษหรือบุคคลสำคัญ
ชุดที่ผู้เข้าประกวดสวมใส่จะสะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น เวทีการประกวดเปรียบเสมือนพื้นที่ในการสื่อสารอัตลักษณ์ของท้องถิ่นผ่านชุดผู้เข้าประกวด อย่างไรก็ตามหากชุดนั้นได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดจะถือว่าอัตลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นกลายเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นนิยมซึ่งจะถูกนำไปเผยแพร่บนเวทีการประกวดในระดับนานาชาติ ผลักดันอัตลักษณ์ท้องถิ่นนิยมให้กลายเป็นอัตลักษณ์ระดับชาติ การคัดสรรอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่นิยามความหมายของอัตลักษณ์ไทย

References

กระปุกดอทคอม. (2566). 77 ชุดประจำชาติ มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2023 ไอเดียเริด อลังการงานสร้าง. สืบค้น 7 พฤษภาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/BLAOu

คมชัดลึกออนไลน์. (2566). อลังการงานสร้าง 77 ชุดประจำจังหวัด มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2023 สวยจริง ไม่จกตา. สืบค้น 7 พฤษภาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/u6qrm

งามนิจ กุลกัน. (2556). การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 14(25), 18-30.

ชัยภัทร ปทุมทา และคณะ. (2563). สัตว์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา : การสังเคราะห์คติธรรมและความเชื่อสู่การสร้างสรรค์พุทธศิลปกรรมของวัดในจังหวัดพิจิตร (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ณภัทร ประศาสน์ศิลป์ และศราวุฒิ ปิ่นทอง. (2565). คติความเชื่อท้องถิ่นจากมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมลายูปัตตานีผ่านการออกแบบสื่อในบริบทร่วมสมัย. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 23(44), 47-57.

ณิชมน เพิ่มมีทอง. (2551). การบูชาวีรบุรุษในสังคมไทย กรณีศึกษาพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าตากสินมหาราชและพระปิยะมหาราช (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ดนัย ไชยโยธา. (2546). สังคม วัฒนธรรม และประเพณี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ผู้จัดการออนไลน์. (2566). เน้นสร้างตำนาน 77 ชุดประจำจังหวัดมิสแกรนด์ฯ คัฟเวอร์ ลิซ่า กินลูกชิ้นก็มี ชุดแม่ชีก็มา. สืบค้น 7 พฤษภาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/FM3at

พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

มิสแกรนด์ไทยแลนด์ดอทคอม. (2566). นับจากนี้ทุกพื้นที่ มีแต่แกรนด์. สืบค้น 8 พฤษภาคม 2566, จาก https://missgrandthailand.com/

วิไลวรรณ ทวิชศรี. (2560). อัตลักษณ์ชุมชน : แนวคิดและการจัดการเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยหลักพุทธสันติวิธีของเทศบาลตำบลเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารศิลปะการจัดการ, 1(2), 63-74.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2561). อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. เชียงใหม่: หจก.วนิดาการพิมพ์.

Sapcharoen, P. (1997). Local Food of Four Regions. Bangkok: Office of the War Veterans Organization of Publishing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-01

How to Cite

ปลอดมูสิก ว. (2024). การประกวดชุดประจำชาติมิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2023 กับการสื่อสารอัตลักษณ์ท้องถิ่น. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(5), 493–505. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/269214