แนวทางการสร้างความมั่นคงทางการเงินหลังเกษียณอายุการทำงานของคนไทย
คำสำคัญ:
แนวทาง, การสร้างความมั่นคงทางการเงิน, เกษียณอายุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษานโยบายการสร้างความมั่นคงทางการเงินหลังเกษียณอายุการทำงานของคนไทย 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความมั่นคงทางการเงินหลังเกษียณอายุการทำงานของคนไทย และ 3. ศึกษาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางการเงินหลังเกษียณอายุการทำงานของคนไทย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัย ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์โดยผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 30-65 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. นโยบายการสร้างความมั่นคงทางการเงินเป็นนโยบายของภาครัฐด้วยความไม่ต่อเนื่องของนโยบาย ทำให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายอยู่ตลอด 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความมั่นคงทางการเงิน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการของรัฐ (รัฐสวัสดิการ) สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม และนวัตกรรมการจัดการ 3. ประชาชนส่วนใหญ่มีแนวทางการสร้างความมั่นคงทางการเงิน มีการวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ มีการบริหารสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค การบริหารความเสี่ยงและการประกัน มีการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการสร้างอิสรภาพทางการเงิน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยเชิงปริมาณที่พบว่า การสร้างความมั่นคงทางการเงินหลังเกษียณอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545- 2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. สืบค้น 20 มกราคม 2565, จาก http://www.dop.go.th
ไกรวิชญ์ ประชุมพันธ์ และคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้บริโภคเพื่อใช้จ่ายในอนาคตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิต วิทยาลัยสวนดุสิต, 14(2), 313-329.
ณัฐกิตติ์ ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม และสัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2563). การเตรียมความพร้อมเพื่อความมั่นคงในชีวิตของพนักงานธนาคารในการรองรับการเข้าสู่ภาวะผู้สูงวัย. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 185-198.
นันทิดา วัฒนประภา. (2559). ปัจจัยในการวางแผนการเงินที่มีผลต่อความคุ้มค่าในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของลูกค้าที่มาใช้บริการธนาคารกสิกรไทย สาขาแหลมฉบัง (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พลอยพัชร์ กิจเจริญเกษม. (2559). การเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน). วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการมหาวิทยาลัยมหิดล, 3(2), 3-31.
วรชัย สิงหฤกษ์ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). การเตรียมความพร้อมในการเกษียณอายุงานของเจ้าหน้าที่ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด: การศึกษาแบบสร้างทฤษฎีฐานราก. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL), 7(2), 199-133.
ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์. (2562). การวางแผนภาษีที่ใช้สำหรับผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 91-116.
สืบพงศ์ สุขสม. (2563). นโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 9(2), 166-175.
สุรพงษ์ มาลี. (2561). ภาครัฐกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย. วารสารข้าราชการสำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคลสำนักงาน ก.พ., 60(4), 9-11.
อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ. (2562). การออกแบบระบบการจัดทำต้นทุนผลผลิตของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 8(1), 1-16.
อุไร สุทธิแย้ม. (2562). เกษียณอย่างไรให้เกษม. วารสารบัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 12(2), 95-108.
Bea, M. D. & Youngmin, Y. (2019). Leaving the Financial Nest: Connecting Young Adults' Financial Independence to Financial Security. Journal of Marriage and Family, 81(2), 397-414.
Benedict S. K. et al. (2021). Trust and retirement preparedness: Evidence from Singapore. The Journal of the Economics of Ageing, 18(1), 1-38.
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
Delali, A. D. (2018). Systematic preparation process and resource mobilization towards post-retirement life in Urban Ghana: an exploration. Ghana Social Science Journal, 15(1), 64-97.
Pimnara Hirankasi. (2020). Banking services for the elderly in the digital age. Retrieved March 20, 2022, from https://shorturl.asia/PzvKM
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น