การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้บทเรียนการ์ตูน ที่เน้นวิธีการสอนแบบโฟนิกส์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วรีพร อ่อนนาง มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • วีระศักดิ์ ชมภูคำ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

บทเรียนการ์ตูนที่เน้นวิธีการสอนแบบโฟนิกส์, ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ, ทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. สร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนการ์ตูนที่เน้นวิธีการสอนแบบโฟนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่ 2. พัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้บทเรียนการ์ตูนที่เน้นวิธีการสอนแบบโฟนิกส์ นักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่ 3. พัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้บทเรียนการ์ตูนที่เน้นวิธีการสอนแบบโฟนิกส์นักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่ เป็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. บทเรียนการ์ตูนที่เน้นวิธีการสอนแบบโฟนิกส์ 3 ชุด 2. แบบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ 3. แบบวัดทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบ Z-test

ผลการวิจัยพบว่า 1. บทเรียนการ์ตูนที่เน้นวิธีการสอนแบบโฟนิกส์ ทั้ง 3 ชุด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 94.22/91.59 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. นักเรียนมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ระดับดี มากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกชุด 3. นักเรียนมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับดี มากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกชุด

References

จรรยวรรณ เทพศรีเมือง. (2560). การทำหนังสือสำหรับเด็ก. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

จุฑามาศ ศรีใจ. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านคำพื้นฐานภาษาไทย โดยใช้บทเรียนการ์ตูน ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ฉวีวรรณ วัฒนานุกิจ. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ เพื่อส่งเสริมการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง สระเสียงสั้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

บินยากร นวลสนิท. (2563). Phonics นั้นสำคัญไฉน. สืบค้น 20 มีนาคม 2566, จาก https://hr.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/Phonics

พิชญ์สินี ชมภูคำ. 2565). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น.

รัตนะ บัวสนธ์. (2564). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

หนึ่งฤทัย ชูแก้ว. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนการ์ตูนร่วมกัเทคนิคการเรียนรู้แบบ STAD เรื่องคู่อันดับและกราฟ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรรชนิดา หวานคง. (2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 7(2), 303-314.

Alba, J. M. (2021). Synthetic Phonics Strategies to Improve Reading and Writing for English as a Second Language Students. Retrieved March 30, 2023, from https://shorturl.asia/ch1Hi

Kaur, M. (2021). Cartoon As an Instructional Strategy for Language Learning. SHODH SARITA, 8(29), 107-112.

Lewis, M. & Ellis, S. (2006). Introduction Phonics: The Wider Picture. In Phonics: Practice, research and policy. London: SAGE Publications Ltd.

WIDA Model. (2023). Mission and History. Retrieved May 17, 2023, from https://shorturl.asia/XSlsr

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite

อ่อนนาง ว., & ชมภูคำ ว. (2024). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้บทเรียนการ์ตูน ที่เน้นวิธีการสอนแบบโฟนิกส์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(4), 269–280. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/267961