การพัฒนารูปแบบการนิเทศยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
คำสำคัญ:
รูปแบบการนิเทศ, คุณภาพการศึกษา, การนิเทศยกระดับคุณภาพการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการนิเทศยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษา 2. เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศยกระดับคุณภาพการศึกษา 3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบในการนิเทศยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษา และ 4. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 551 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ กระบวนการระดมความคิดเห็น การสนสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษารูปแบบการนิเทศยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษา พบว่า มีองค์ประกอบ 6 ด้าน 2. รูปแบบการนิเทศยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษา มีองค์ประกอบ 2 ส่วน 3. ผลการใช้รูปแบบในการนิเทศยกระดับคุณภาพการศึกษาระดับประถมศึกษา อยู่ในระดับปฏิบัติการมาก 4. ประสิทธิผลรูปแบบ ประเมินโดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการโรงเรียน ครูผู้สอน และศึกษานิเทศก์ พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบ ความเป็นไปได้ของรูปแบบ และประโยชน์ของรูปแบบอยู่ในระดับมากทั้งหมด
References
กุลกาญจน์ สุวรรณรักษ์. (2562). การนิเทศการสอนยุค 4.0. สืบค้น 21 มีนาคม 2565, จาก http://edu.bsru.ac.th
กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน และอภิสรรค์ ภาชนะวรรณ. (2651). การนิเทศการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 4(1), 193-206.
เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีแววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). สรุปผลนิเทศติดตามประเมินการบริหารจัดการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2546. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
______. (2562). แนวทางการนิเทศบูรณาการโดยใช้พื้นที่เป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่การนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
คูณ วงศ์อนันต์. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานบุคคลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน จังหวัดยโสธร (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
รัตนา นครเทพ. (2552) การนำเสนอรูปแบบการนิเทศภายในโดยการประยุกต์ใช้แบบกัลยาณมิตรในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราธานี.
วรรณพร สุขอนันต์. (2550). รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วสิรดา สายเพ็ชร. (2560). กลยุทธ์การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรัตน์ แก้วสุด และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศ PPDER เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เน้นกระบวนการ PLC สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๐. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุทธนู ศรีไสย์. (2545). หลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรชัย ไวยวรรณจิตร. (2552). การศึกษาสาเหตุที่ทำให้คะแนน O-NET ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ : กรณีศึกษาโรงเรียนสุขสวัสดิ์วิทยา. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.
อัญชอัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2552). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://panchalee. wordpress.com/2009
Harris, B.M. (1985). Supervisory behavion in education (3rd ed). Englewood Cliffs, New Jersey Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น