ปฏิบัติการในชีวิตประจำวันของคนชายขอบ ในการเปลี่ยนโครงสร้างสังคมไทย
คำสำคัญ:
การต่อสู้ต่อต้านในชีวิตประจำวัน, แรงงานข้ามชาติ, ปฏิบัติการทางสังคมบทคัดย่อ
การต่อสู้ต่อต้านในชีวิตประจำวันเป็นการต่อสู้ในเชิงการเมืองวัฒนธรรม เพื่อช่วงชิงอำนาจนำในการกำหนดหรือสร้างคำนิยามความหมายชุดใหม่ให้กับสิ่งที่เรียกร้องต่อสู้ เนื่องด้วยการต่อสู้มิได้อยู่ในพื้นที่ที่เป็นทางการ การเมืองทำนองนี้เป็นการเมืองที่มีความลื่นไหล ไม่หยุดนิ่งตายตัว สะท้อนผ่านความสัมพันธ์กับโครงสร้างชนบทได้เปลี่ยนไป ไม่เพียงส่งผลให้แรงงานที่อยู่ในระบบการผลิตแบบเดิมต้องเปลี่ยนไปเท่านั้น แต่ยังทำให้หลายคนต้องอพยพโยกย้ายเข้าไปทำงานในเมือง และต้องหากลยุทธ์ในการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในระนาบต่าง ๆ ในกรณีศึกษาเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทย ผู้คนที่อพยพเข้าไปหางานทำในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ตามหัวเมือง ส่วนหนึ่งเกิดจากการต้องดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด แต่ในอีกระดับปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากโครงสร้างการพัฒนาที่มุ่งให้เกิดเมืองโตเดี่ยว และผลักผู้คนให้ออกจากการผลิตแบบเดิม รวมถึงทรัพยากรที่มีไม่ได้ลงไปสู่คนกลุ่มต่าง ๆ อย่างเท่าเทียม แต่อย่างไรก็ตาม แรงงานข้ามชาติหรือคนชายขอบของเมืองก็ไม่ได้จำยอม แต่ได้แสวงหากลยุทธในการเอาตัวรอดและต่อรองกับผู้คนต่าง ๆ ในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ทางการเมืองในชีวิตประจำวัน
References
คำ. (2565, 11 มกราคม). พนักงานแม่บ้าน [บทสัมภาษณ์].
จอมเครือ. (2564, 29 ธันวาคม). พนักงานบริษัทเข้าเล่มหนังสือ รับจ้างทั่วไป [บทสัมภาษณ์].
เชษฐา พวงหัตถ์. (2548). โครงสร้าง-ผู้กระทำการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
พิสิษฏ์ นาสี และชัยพงษ์ สำเนียง. (2557). ประเทศไทย จากยุคแรงงานล้นเหลือถึงการเข้ามาของแรงงานข้ามชาติ: ความเปลี่ยนแปลงของแรงงานในประเทศไทยสู่การแสวงหาแรงงานทดแทน. วารสารมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา, 2(2), 104-134.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์. (2546). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ. เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม บุคส์.
ยุกติ มุกดาวิจิตร. (2556). วัฒนธรรมต่อต้าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
วิน. (2564, 29 ธันวาคม). ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติ [บทสัมภาษณ์].
อร. (2564, 29 ธันวาคม). ลูกจ้างแรงงานข้ามชาติ [บทสัมภาษณ์].
ออย. (2565, 11 มกราคม). เครือข่ายแรงงานหญิง วัดกู่ม่าน [บทสัมภาษณ์].
อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์: การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2549). วัฒนธรรมทางเศรษฐกิจในเศรษฐกิจไร้วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: คบไฟ.
อานันท์ กาญจนพันธุ์ และชัยพงษ์ สำเนียง. (2557). แรงงานข้ามชาติ: อัตลักษณ์และสิทธิความเป็นพลเมือง. เชียงใหม่: สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Appadurai, A. (2000). Modernity at Large: Cultural Dimensions of Globalization. Minnesota: Minnesota University Press.
Bourdieu, P. (1977). Outline of a Theory of Practice. London: Cambridge University Press.
______. (1990). The Logic of Practice Polity. London: Cambridge University Press.
______. (1993). The Field of cultural production: Essays on art and literature. New York: Columbia University Press.
Certeau, M. d. (1984). The Practice of Everyday Life. Berkeley: University of California Press.
Cohen, P. (1981). The Politics of Economic Development in Northern Thailand 1967–1979 (Doctoral dissertation). London: University of London.
Ganjanapan, A. (1989). Conflicts over the deployment and control of labor in a northern Thai village. In Hart, G. et al. (Eds.), Agrarian Transformations: Local Processesand the State in Southeast Asia. (pp. 98-124). Berkeley: University of California Press.
Hart, G. (1998). Multiple trajectories: A critique of industrial restructuring and the new institutionalism. Antipode, 30(4), 333-356.
Harvey, D. (2005). A Brief History of Neoliberalism. Oxford: Oxford University Press.
Hirai, K. (2002). Exhibition of Power Factory Woman’s Use of the Housewarming Ceremony in a Northern Thai Village. In Tanabe, S. & Keyes, C. F. (Eds), Cultural crisis and social memory: Modernity and identity in Thailand and Laos. (pp.185-201). Honolulu: University of Hawaii Press.
Jirattikorn, A. (2007). Living on both sides of the borders: Transnational migrants, pop music and nation of the Shan in Thailand. Chiang Mai: Chiang Mai University.
Kitiarsa, P. (2014). The Bare Life of Thai Migrant Workmen in Singapore. Chiang Mai: Silkworm Books.
Soonthondhada, K. (2001). Changing in the labor market and international migration since the economic crisis in Thailand. Asian and Pacific Migration Journal, 10(3-4), 401-428.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น