การยอมรับและการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของเกษตรกรกลุ่มสมาชิกเชียงใหม่เฟรชมิลค์ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ภัททิยา สิรินันทิศา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • จักรพงษ์ พวงงามชื่น มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • นคเรศ รังควัต มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พุฒิสรรค์ เครือคำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การยอมรับและการปฏิบัติตาม, เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม, การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐสังคม จิตวิทยา ความรู้ความเข้าใจ 2. ศึกษาการยอมรับและการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) 3. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและการปฏิบัติ GAP และ 4. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติ GAP สำหรับฟาร์มโคนม เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากเกษตรกรกลุ่มสมาชิกเชียงใหม่เฟรชมิลค์ จังหวัดลำพูนจำนวน 107 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน        

ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70.10) เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.02 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 35.50) สมรสแล้ว (ร้อยละ 75.70) เลี้ยงโคนมเฉลี่ย 51.16 ตัว มีพื้นที่เลี้ยงโคนมเฉลี่ย 2.21 ไร่ และมีรายได้เฉลี่ย 945,317.76 บาทต่อปี ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เฉลี่ย 4.61 ปี เลี้ยงโคนมเฉลี่ย 12.64 ปี ทัศนคติและแรงจูงใจของเกษตรกรอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.96 และ 3.86) และมีความรู้เกี่ยวกับ GAP ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 82.24) เกษตรกรมีการยอมรับและปฏิบัติ GAP สำหรับฟาร์มโคนมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.27) โดยแรงจูงใจต่อการปฏิบัติ GAP ฟาร์มโคนมเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและปฏิบัติ GAP สำหรับฟาร์มโคนม ปัญหาหลักคือต้นทุนในการเลี้ยงโคนมสูงและแหล่งอาหารหยาบไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามบริษัทเชียงใหม่เพรชมิลค์ จำกัดควรส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อเป็นแหล่งอาหารหยาบและลดต้นทุนการผลิต

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2562). แนวปฏิบัติในการใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 6402(G)-2562. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2562). สภาวะการเลี้ยงโคนม. สืบค้น 24 มกราคม 2564, จาก https://www.moac.go.th/knowledge_moac-knowledge

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). ประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม

(นม)โรงเรียนประจำปีการศึกษา 2565. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://shorturl.asia/Qc0Hv

กัญญ์วรา ยุทธ์ธนพิริยะ. (2565). นมสดและนมผงแบบไหนมีประโยชน์กว่ากัน. สืบค้น 18 มีนาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/54vUN

จักรพงษ์ พวงงามชื่น และคณะ. (2562). เหตุจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตกรรมหลังจบการศึกษาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษยสังคมศาสตร์, 17(3), 135-156.

ชไมพร ใจภิภักดิ์ และคณะ. (2563). การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 38(4), 563-670.

ทวีรัตน์ พวงรัตน์. (2536). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ฟิงเกอร์ ปริ้นแอนด์มีเดีย.

เนาวรัตน์ กำภูศิริ และคณะ. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ของการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) กับคุณภาพน้ำนมดิบในพื้นที่จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครราชสีมา. สืบค้น 24 มกราคม 2566, จาก https://shorturl.asia/n2KDB

บุญธิดา อยู่ประจำ และณัฏฐนันท์ ท้วมสุวรรณ. (2564.) การศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่ระบบ ฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม จังหวัดชัยนาท. สืบค้น 24 มกราคม 2566, จาก https://shorturl.asia/51zh0

สำนักงานจังหวัดลำพูน. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดลำพูน (พ.ศ. 2561-2565) ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2565. ลำพูน: สำนักงานจังหวัดลำพูน.

สำนักงานปศุสัตว์เขต 5. (2563). รายงานประชากรโคนมและปริมาณน้ำนมดิบจำแนกรายสหกรณ์และศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบในภาคเหนือตอนบน ประจำปี พ.ศ. 2563. สืบค้น 24 มกราคม 2564, จาก http://webcache.googleusercontent.com

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลำพูน. (2556). ประวัติการเลี้ยงโคนมของประเทศไทย ภาคเหนือตอนบนและจังหวัดลำพูน. สืบค้น 24 มกราคม 2564, จาก http://polo-lpn.dld.go.th

สุทิน บุญชนะ. (2560). บทที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน. เอกสารประกอบการสอนสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเบื้องต้น. สืบค้น 24 มกราคม 2566, จาก https://shorturl.asia/JQwSP

สุนันทา ศรีรัตนา. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบในการตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตรกรรมหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาเกษตร ภาคเหนือตอนบน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 169–183.

อิทธิพัทธ์ จำรัสบุญหิรัญ และศุภวัฒน์ ศรีเชษฐา. 2564. ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับปรุงฟาร์มโคนมเข้าสู่การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในพื้นที่ปศุสัตว์ เขต 4. สืบค้น 24 มกราคม 2564, จาก https://shorturl.asia/VWf3l

Slovin, E. (1960). Slovin's formula for sampling technique. New York: Houghton- Mifflin.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite

สิรินันทิศา ภ., พวงงามชื่น จ., รังควัต น., & เครือคำ พ. (2024). การยอมรับและการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มโคนมของเกษตรกรกลุ่มสมาชิกเชียงใหม่เฟรชมิลค์ จังหวัดลำพูน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(2), 204–216. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/266566