แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาฐานสมรรถนะเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการอาชีพสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น
คำสำคัญ:
การเรียนการสอนภาษาฐานสมรรถนะ, สมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการอาชีพ, ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นบทคัดย่อ
บทความนี้ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวคิด และหลักการ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรฐานสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการอาชีพ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น และเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนในเชิงหลักสูตรฐานสมรรถนะให้เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนในการประยุกต์ออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน ให้เกิดสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น ที่ผู้เขียนได้สังเคราะห์ขึ้นจากการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทความนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับ 1. ความหมายสมรรถนะ 2. เป้าหมายหลักสูตรฐานสมรรถนะ 3. สมรรถนะผู้เรียน 4. การจัดการเรียนการสอนสมรรถนะการสื่อสาร 5. สมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการอาชีพสำหรับผู้เรียนที่บกพร่องทางการเห็น และ 6. การจัดการเรียนการสอนสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการอาชีพสำหรับผู้เรียนที่บกพร่องทางการเห็น
References
ชัษษพณขิ์ จันวงค์เดือน และวริญรดา บรรหาร. (2564). หลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรฐานสมรรถนะ. วารสาร ครุทรรศน์ (Online) มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 2(2), 89-102.
นฤมล อินทิรักษ์. (2562). การพัฒนาหนังสือเสียงสองภาษาเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังสำหรับเด็กที่บกพร่องทางการเห็น. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 21(2), 110-118.
พิชญนันท์ กุลนุชิต. (2563). การพัฒนาการทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางการเห็นระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดฝึกทักษะ. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์.
โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่. (2561). หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. เชียงใหม่: โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือในพระบรมราชินูปถัมภ์.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ Competency. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นจำกัด มหาชน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะ ผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
_____. (2562). กรอบสมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
_____. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้และประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อุปกิต ทองหลาง และคณะ. (2563). การศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2), 47-59.
Perkins School for the Blind. (2022). Understanding the Expanded Core Curriculum. Retrieved March 20, 2022, from https://shorturl.asia/q5Hf6
Willings, C. (2019). Teaching language for student with visual implementer. Retrieved March 20, 2020, from https://shorturl.asia/6nvwA
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น