ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สู่การเสริมสร้างกรอบความคิดแบบเติบโตของนักเรียน

ผู้แต่ง

  • พงษ์พิณิตย์ อุทธิยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พงษ์ลิขิต เพชรผล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา, กรอบความคิดแบบเติบโต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่การเสริมสร้างกรอบความคิดแบบเติบโตของนักเรียน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 274 โรงเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สำหรับผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 343 คน และครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 752 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ  มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.994 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified)

ผลการวิจัยในด้านการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ในประเด็นการกำหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตรให้ผู้เรียนมีกรอบความคิดแบบเติบโต รองลงมาคือ การพัฒนาการสร้างสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ตามลำดับ สำหรับการบริหารงานบุคคล ด้านการพัฒนาครู พบว่า ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การฝึกอบรมนอกงาน โดยการเรียนรู้จากสถานการณ์จำลองและการเรียนรู้ด้วยตนเอง รองลงมาคือ การฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน โดยการโค้ชและการมีระบบพี่เลี้ยง สำหรับคุณลักษณะตามกรอบความคิดแบบเติบโตของนักเรียนและครูที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา คือ 1) ด้านชอบความท้าทาย 2) ด้านเรียนรู้จากคำวิพากษ์วิจารณ์ และ 3) ด้านค้นพบบทเรียน และแรงบันดาลใจของผู้อื่น

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

______. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

พระณัฐวุฒิ พันทะลี. (2563). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการพระพุทธศาสนาเขตลุ่มแม่น้ำโขง, 3(2), 44-55.

ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2558). CEP’S NEWS ตอน 22 การประชุมนานาชาติครั้งที่17 เมืองเวนิส. สืบคน 30 กันยายน 2562, จาก www.youtube.com/watch?v=RRH4m78

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ข้อค้นพบจาก PISA 2018 เกี่ยวกับกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) FOCUS ประเด็นจาก PISA. สืบค้น 5 มีนาคม 2563, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2020-49

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). สถิติข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.bopp.go.th

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Dweck, C. S. (2006). Mindset: The new psychology of success. New York: Random House Publishing Group.

Goldberg, G. (2016). Mindset & Moves: Strategies that Help Readers Take Charge. Thousand Oaks, CA: Corwin.

Keene, E. (2018). Engaging Children: Igniting a Drive for Deeper Learning K–8. Portsmouth, NH: Heinemann.

Weiss, D. & Fortus, D. (2013). School, Teacher, Peers, and Parents’ Goals Emphases and Adolescents’ Motivation to Learn Science in and out of School. Journal of Research in Science Teaching, 50(8), 952 – 988.

Yeager, D. S. & Dweck, C. S. (2012). Mindsets that promote resilience: When students believe that personal characteristics can be developed. Educational Psychologist, 47(4), 302-314.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15

How to Cite

อุทธิยา พ., เพชรผล พ., & ศิริบรรณพิทักษ์ พ. (2023). ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สู่การเสริมสร้างกรอบความคิดแบบเติบโตของนักเรียน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(6), 242–256. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/265924