การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีเพื่อคุณภาพชีวิตประชาชน

ผู้แต่ง

  • นัทนิชา โชติพิทยานนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพัฒนา, วิสาหกิจชุมชน, ชุมชนท่องเที่ยว, นวัตวิถี, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีจังหวัดอุดรธานี การมีส่วนร่วมของสมาชิก การบริหารจัดการที่ดี การผลิตสินค้าและบริการ และการจัดการตลาดแบบบูรณาการ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ใช้การวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง 360 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ตัวแปรทุกคู่มีทิศทางเดียวกันในทางบวก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.092 ถึง 0.613  คุณภาพของสินค้าและบริการกับจำนวนนักท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กันสูงที่สุด ผลการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีสอดคล้องกับข้อมูลเชิง พบว่า การบริหารจัดการที่ดี และการผลิตสินค้าและบริการ มีอิทธิพลโดยรวมต่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีมากที่สุด (Chi-square = 205.49, df = 104, p-value = 0.06002, RMSEA = 0.042, RMR = 0.02, GFI = 0.94, AGFI = 0.91, CFI = 0.98, PGFI = 0.66, NFI = 0.96) และ 3) ได้เสนอแนวทางการพัฒนาเป็นภาพแผนภูมิจำลองการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีเพื่อคุณภาพชีวิตประชาชน

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2564). ภาพรวม OTOP. สืบค้น 5 มกราคม, 2564, จาก https://cep.cdd.go.th/otopdata/%a1-otop

กุลยา อุปพงษ์ และคณะ. (2565). การพััฒนาการตลาดดิจิิทััลเพื่อเพิ่มผลลัพธ์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการทอผ้าจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 11(1), 175-195.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ สังขรัตน์. (2557). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 10(1), 97-122.

ปิยะดา พิศาลบุตร. (2561). กลยุทธ์การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(1), 105-120.

ฤดี เสริมชยุต. (2563). กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดสำหรับการท่องเที่ยวชุมชน. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 2(4), 51-61.

วิศลย์ธีรา เมตตานนท์. (2560). การจัดการความรู้ในวิสาหกิจชุมชน: ทางเลือกในการพัฒนาความสามารถในการอยู่รอด. HROD Journal, 9(1), 103-126.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2560). วิสาหกิจชุมชน ปฏิทรรศน์ในการแข่งขันทางธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 37(2), 131-150.

Best, J. W. (1981). Research in Education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall Inc.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. A., (2000). Introduction to LISREL: A guide for the uninitiated. London: SAGE Publications, Inc.

Emeka, N., N et al. (2007). Social Investment through Community Enterprise. Journal of Business Ethics, 73(1), 91–101.

Hair, J. F., et al. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). LA: SAGE.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 44–53.

Pearson, K. (1920). Notes on the history of correlation. Biometrika, 13(1), 25-45.

Swink, M., et al. (2014). Managing Operations Across the Supply Chain (4th ed.). New York: McGrew-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-26

How to Cite

โชติพิทยานนท์ น. (2023). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีเพื่อคุณภาพชีวิตประชาชน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(2), R14-R27. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/264931