ผลของโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ที่มีต่อเงื่อนไขสำคัญและจำเป็นสำหรับความงอกงามและความเชื่อมั่นในตนเองของตัวแทนประกันชีวิตมือใหม่
คำสำคัญ:
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม, เงื่อนไขสำคัญและจำเป็นสำหรับความงอกงาม, ความเชื่อมั่นในตนเองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มที่มีต่อเงื่อนไขสำคัญและจำเป็นสำหรับความงอกงามตามแนวคิดของ Rogers และความเชื่อมั่นในตนเองของตัวแทนประกันชีวิตมือใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือตัวแทนประกันชีวิตมือใหม่ของบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต สาขาเชียงใหม่ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 12 คนและกลุ่มควบคุม 12 คน ด้วยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ส่วนกลุ่มควบคุมเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มนันทนาการ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Mann–Whitney U Test และ Wilcoxon Signed Rank Test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนการทดลอง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีระดับเงื่อนไขสำคัญและจำเป็นสำหรับความงอกงาม และความเชื่อมั่นในตนเองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีเงื่อนไขสำคัญและจำเป็นสำหรับความงอกงาม และความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่าในระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) กลุ่มทดลองมีเงื่อนไขสำคัญและจำเป็นสำหรับความงอกงามและความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
References
จิตตรี แตงริด. (2550). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีของ Rogers ต่อความรับผิดชอบและความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา). เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จีน แบรี่. (2537). คู่มือการฝึกทักษะให้การปรึกษา = Training handbook forcounselling skills. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
ภัทราภรณ์ สุวรรณโชติ. (2554). กลยุทธ์ในการรักษาตัวแทนประกันชีวิตให้อยู่ในอาชีพอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ธีรวรรณ ธีระพงษ์. (2549). ผลของกลุ่มพัฒนาตนและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธเน้นศีลและปัญญาต่อสัมพันธภาพการปรึกษาเชิงจิตวิทยา และผลเนื่องต่อความพึงพอใจของรับบริการ (ดุษฎีนิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
_____. (2550). แนวคิดบุคคลเป็นศูนย์กลางเพื่อการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและการพัฒนามนุษย์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
นพรุจน์ อุทัยทวีป. (2560). ผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวคิดของโรเจอร์สที่มีต่อการเข้าถึงใจของนักศึกษามหาวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการปรึกษา). เชียงใหม่ฯ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มานิดา ทองทวี. (2526). การเปรียบเทียบผลการให้การคำปรึกษาแบบกลุ่มและรายบุคคลที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ศิริภรณ์ พุทธรักษ์ และคณะ. (2563). ผลสัมฤทธิ์ในการประกอบอาชีพตัวแทนประกันชีวิตในสังกัดสำนักงานตัวแทนบริษัท เอ.ไอ.เอ.จำกัด. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 3(2), 221-234.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.
สุวิชญา เกียรติคีรีรัตน์ และฉันทนา กล่อมจิต. (2557). ผลของโปรแกรมพัฒนาการเข้าถึงจิตใจผู้อื่นของนักศึกษาด้วยการให้คำปรึกษากลุ่ม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(1).
Corey, G. (2004). Theory and practice of counseling and psychotherapy (6th ed.). CA: Thomson Brooks/Cole.
______. (2013). Theory and practice of counseling and psychotherapy (9th ed.). Pacific Grove, CA: Brooks/Cole.
Hill, C. E. (1981). Nonverbal communication and counseling outcome. Journal of Counseling Psychology, 28, 203-212.
Rogers, C. R. (1951). Client-centered therapy: Its current practice, implications, and theory, with chapters: Houghton. Boston: Houghton Mifflin.
Sardar, A. & Patton, M.A. (2002). What Makes a Great Salesperson? Links Between Heritage and The Future, Working Paper. Boston: Houghton Mifflin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น