กองนิติการสงฆ์: แนวทางการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือคณะสงฆ์ด้านกฎหมาย และข้อพิพาท เพื่อการปกครองคณะสงฆ์ที่เข้มแข็งในสังคมไทย
คำสำคัญ:
ศูนย์ช่วยเหลือคณะสงฆ์, กฎหมายและข้อพิพาท, การปกครองคณะสงฆ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาสภาพทั่วไปในการปกครองคณะสงฆ์ไทย 2. ศึกษาแนวทางการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือคณะสงฆ์ด้านกฎหมายและข้อพิพาท 3.นำเสนอ (ร่าง) ศูนย์ช่วยเหลือคณะสงฆ์ด้านกฎหมายและข้อพิพาท 4.นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติและแนวทางขับเคลื่อนศูนย์ฯ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานของการวิจัยเชิงเอกสาร วิจัยเชิงคุณภาพ และวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 28 รูปหรือคน ประชุมเชิงปฏิบัติกับพระสังฆาธิการ จำนวน 100 รูป เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินการสนทนากลุ่มเฉพาะ และชุดอบรมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนามุ่งเน้นการสรุปสาระสำคัญด้านเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การปกครองคณะสงฆ์ไทยนั้นเจ้าอาวาสส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน มีความรู้ทางโลกและทางธรรม บริหารแบบยืดหยุ่น ยึดถือความซื่อสัตย์สุจริต พระสงฆ์ส่วนมากมีระดับการศึกษาทางโลกค่อนข้างต่ำ เจ้าอาวาสขาดความรู้ในการบริหาร ถึงแม้ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ยังขาดงบประมาณสนับสนุน และหน่วยงานที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์ไม่เพียงพอ 2) แนวทางในการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือคณะสงฆ์ฯ ประกอบด้วย ด้านโครงสร้างการบริหาร ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านงบประมาณ และด้านสถานที่ตั้ง 3) จัดทำเป็น (ร่าง) ระเบียบคณะสงฆ์จังหวัด...ว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือคณะสงฆ์ด้านกฎหมายและข้อพิพาท ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ นิยามศัพท์ โครงสร้างการบริหารงาน ขอบเขตอำนาจหน้าที่ และ 4) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ฯ และบรรจุไว้ในแผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายปกครองของมหาเถรสมาคม และควรจัดตั้งศูนย์ฯ ให้ครอบคลุมทุกจังหวัด อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง และจัดตั้งสภาศูนย์ฯ แห่งประเทศไทย
References
ข่าวไทยพีบีเอส (28 กันยายน 2563). ทุจริตเงินทอนวัด. สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก https://news.thaipbs.or.th/focus?section=TempleFund.
ดนัย ลิสวัสดิรัตนากุล และคณะ. (2555). การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาโดยบริษัทข้ามชาติ. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 2(1), 31-50.
บรรณวิทย์ อุ่นเสรี. (2552). การศึกษาแนวทางการจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษาของกองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, SU, 5(2), 449-468.
ปลื้ม โชติษฐยางกูร. (2553). คำบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวิมลสุวรรณกร (สมพงษ์ จนฺทวโร). (2559). รูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ที่พึงประสงค์ของพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 1. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 15-26.
พระณรงค์ สังขวิจิตร. (2560). การปกครองคณะสงฆ์ไทยปัจจุบัน : ปัญหาและแนวทางแก้ไข. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 27-40.
พระปลัดพิชิต โยมา. (2563). ความคาดหวังของพระสงฆ์ต่อการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 238-251.
พระปลัดวรเมศวร์ นาควโร. (2560). รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการวัดที่ดีในจังหวัดชัยนาท. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(4), 141-153.
พีระศิลป์ บุญทอง. (2561). การบริหารกิจการคณะสงฆ์ของคณะสงฆ์ในภาคใต้. วารสารมหาจุฬานาคร ทรรศน์, 5(1), 30-44.
สิทธิโชค ลางคุลานนท์. (2563). การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ภายใต้แนวคิดยุติธรรมชุมชน : กรณีศึกษาเครือข่ายยุติธรรมชุมชน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการเมืองการปกครอง, 10(1), 52-73.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (17 มิถุนายน 2563), ที่ดินวัดสวนแก้ว, สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก https://www.thairath.co.th/tags/ที่ดินวัดสวนแก้ว.
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505. (2505, 31 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 79 (ตอนที่ 115 ฉบับพิเศษ). หน้า 29-44.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น