การบริหารจัดการโครงการสถานประกอบการรักษาศีล 5 ด้วย 7 กิจวัตรความดี จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท มหาววิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, โครงการสถานประกอบการรักษาศีล 5 , 7 กิจวัตรความดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรค2.เพื่อศึกษาองค์ประกอบและ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการโครงการสถานประกอบการรักษาศีล 5 ด้วย 7 กิจวัตรความดี จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูป/คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์ การวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดกลุ่มตัวอย่างคือพนักงานบริษัท เอเชียนสแตนเลย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยคำนวณหาค่าความถี่  ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เพื่อสนับสนุนงานวิจัยเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพปัญหาและอุปสรรค เกิดจากความไม่ต่อเนื่องของการจัดกิจกรรม เวลาในการจะปฏิบัติค่อนข้างจำกัด ขาดการสรุปโครงการและประเมินผล 2.องค์ประกอบของการบริหารโครงการ (PDCA)  1) บริษัทวางแผนจัดกิจกรรมโดยย่อยมาจาก โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข 2) ด้านลงมือปฏิบัติ ได้จัดโครงการร่วมกับคณะสงฆ์วัดเขียนเขต 3) ด้านการตรวจสอบ บริษัทได้เช็คชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม 4) ด้านการปรับปรุงแก้ไข บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ในการจัดกิจกรรมตามเวลาที่จำกัด 3.รูปแบบการบริหารจัดการโครงการ ประกอบด้วย ด้านการรักษาศีล  ด้านสวดมนต์นั่งสมาธิ  ด้านจัดเก็บห้องให้สะอาด ด้านคิดดี ด้านพูดดี ด้านทำดี ด้านกิจกรรมชั่วโมงสุขจริงหนอ.

References

ชมรมบ้านแสงสว่าง ครอบครัวอบอุ่น. (2563). โครงการสถานประกอบการรักษาศีล 5. สืบค้น10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.sila5.com/detail/organization.22

ณรงค์ จันทรัศมี. (2558). การพัฒนาการบริหารจัดการกิจการสาธารณะด้วยหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุณรดา กรรณสูต. (2558). การประยุกต์รูปแบบการบริหารเชิงพุทธของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปิยะวัฒน์ รุ่งเรืองวงศา. (2553). ประสิทธิผลในการดำเนินงานของเทศบาลนครเชียงใหม่ตามเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. เชียงใหม่: ม.ป.ท.

พระกิตติมศักดิ์ กลั่นแสง. (2565). การบริหารโครงการ โรงเรียนรักษาศีล 5 เชิงคุณภาพ ครอบครัวอบอุ่นด้วย 7 กิจวัตรความดี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 697-708.

พระเมธีวชิรภูษิต (จำเนียร จิรวํโส). (2557). ประสิทธิผลการบริหารจัดการสถานศึกษานอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในกำกับของรัฐ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สถาบันพระปกเกล้า. (2555). การสร้างความปรองดองแห่งชาติ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ:คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). คู่มือการดำเนินงาน โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5”. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี:สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30

How to Cite

สุนนฺโท พ. (2022). การบริหารจัดการโครงการสถานประกอบการรักษาศีล 5 ด้วย 7 กิจวัตรความดี จังหวัดปทุมธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), R349-R362. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/263641