การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู โดยใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน

ผู้แต่ง

  • เบญญาภา คงมาลัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ทรงวุฒิ ตรังวัฒนา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ห้องเรียนกลับด้าน, การเรียนการสอนวิจัยทางการศึกษา, นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำวิจัย (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิจัยทางการศึกษา และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครูต่อวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบทดสอบความสามารถในการทำวิจัย แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิจัย และแบบประเมินความพึงพอใจหลังจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาวิจัยทางการศึกษา จำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ Paired sample t-test

ผลการวิจัย พบว่า (1) ผลการประเมินความสามารถในการทำวิจัย พบว่า นักศึกษามีความสามารถในการทำวิจัยอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}= 4.35, SD= 0.74) (2) คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิจัยทางการศึกษา หลังจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x} = 22.43, SD = 3.44) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}= 19.07, SD = 3.68) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านโดยภาพรวม มีความพึงพอใจมากที่สุด (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}= 4.69, SD = 0.53)

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2560). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้วิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนา ความสามารถในการทำวิจัยของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 100-119.

ดวงพร เขียวพระอินทร์. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยาและทักษะการวิจัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานร่วมกับแนวคิดการกลับด้านชั้นเรียน. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 392-408.

นิภา กู้พงษ์ศักดิ์. (2560). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสร้างสรรค์ และความ พึงพอใจต่อวิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 55-67.

ประภัสสร วงษ์ดี. (2562). รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาครูสาขาช่างอุตสาหกรรม, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 109-126.

พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ และดวงกมล จงเจริญ. (2565). ทักษะการวิจัยของครูนักวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 7(1), 166-178.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.

Abeysekera, L. & Dawson P. (2015). Motivation and cognitive load in the flipped classroom: definition, rationale and a call for research. Higher Education Research and Development, 34(1), 1–14.

Alamri, M. M. (2019). Students’ academic achievement performance and satisfaction in a flipped classroom in Saudi Arabia. International journal of technology enhanced learning, 11(1), 103-119.

Alsaleh, N. J. (2020) Flipped classrooms to enhance postgraduate students’ research skills in preparing a research proposal. Innovations in Education and Teaching International, 57(4), 392-402.

Bishop, J. L. & Verleger M.A. (2013). The flipped classroom: a survey of the research. 120th ASEE national conference and exposition, Atlanta. Washington: American Society for Engineering Education.

Bergmann, J. & Sams, A. (2012). Flip your classroom: reach every student in every class every day. Washington: Internal Society for Technology in Education.

Eisinga, R. et. al. (2012). The reliability of a two-item scale: Pearson, Cronbach or Spearman-Brown?. International Journal of Public Health, 58(4), 637-42.

Flumerfelt, S. & Green, G. (2013). Using lean in the flipped classroom for at risk students. Educational Technology & Society, 16(1), 356-366.

Love, B., Hodge, A. Grandgenett, N. & Swif, A.W.T. (2014) Student learning and perceptions in a flipped linear algebra course. International Journal of Mathematical Education in Science and Technology, 45:(3), 317-324

Milman, N. (2012). The flipped classroom strategy: What is it and how can it be used?. Distance Learning, 9(3), 85-87

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-05

How to Cite

คงมาลัย เ., & ตรังวัฒนา ท. (2022). การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู โดยใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), R374-R386. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/262938