การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมตามทฤษฎีพหุปัญญา

ผู้แต่ง

  • อาพัทธ์ เตียวตระกูล มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ปฐมวัย, พัฒนาการเด็กแบบองค์รวม, พหุปัญญา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมตามทฤษฎีพหุปัญญา 2. สร้างและตรวจสอบรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมตามทฤษฎีพหุปัญญา และ 3. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมตามทฤษฎีพหุปัญญา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูผู้สอนระดับปฐมวัย 63 คน และทดลองใช้รูปแบบเพื่อติดตามพัฒนาการเด็กที่เรียนในห้องเรียนของครูอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการวิจัย 669 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการจัดกิจกรรม รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมตามทฤษฎีพหุปัญญา และแบบประเมินพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมตามทฤษฎีพหุปัญญา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมตามทฤษฎีพหุปัญญา ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐาน การบูรณาการหน่วยการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ กิจกรรมตามทฤษฎีพหุปัญญา และพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมตามทฤษฎีพหุปัญญา ผลการใช้รูปแบบ พบว่า เด็กที่ได้รับ
การทดลองโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมตามทฤษฎีพหุปัญญาหลังการทดลองมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กมลวรรณ อังศรีสุรพร. (2554). การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดกิจกรรมตามรูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้โดยใช้นิทานเป็นสื่อ (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธิดา พิทักษ์สินสุข. (2562). วิกฤตปฐมวัยกระทบอนาคตชาติ. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 1(1), 77-89.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2553). การพัฒนารูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้สำหรับการจัดการศึกษาในบริบทของสังคมไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(1), 133-145.

ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย. (2557). พัฒนาเด็กไทย สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม. สืบค้น 6 กันยายน 2562, จาก https://bit.ly/3vcXcoF

สุริยเดว ทรีปาตี. (2557). พัฒนาเด็กไทย สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม. สืบค้น 6 กันยายน 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา. กรุงเทพฯ: กลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ.

_____. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

Gardner, H. (1983). Frames of mind: The theory of multiple intelligences. New York, NY: Basic Books.

_____. (1999). The disciplined mind: What all students should understand. New York, NY: Simon & Schuster.

Johnstone, A. et al. (2019). An active play intervention to improve physical activity and fundamental movement skills in children of low socioeconomic status: feasibility cluster randomised controlled trial. Pilot and Feasibility Studies. 5(45), 1-13.

Mulia, D. (2016). Towards Play-Based Learning Practice. Kajian Linguistik dan Sastra, 1(1), 44-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite

เตียวตระกูล อ. (2024). การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบองค์รวมตามทฤษฎีพหุปัญญา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(4), 411–424. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/262636