การแก้ไขปัญหาความยากจนภายใต้แนวคิดทุนทางสังคม: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ปริญญา สร้อยทอง มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วัลลภัช สุขสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ดาริน คงสัจวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อาทิตย์ พงษ์พานิช มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ความยากจน, ทุนทางสังคม, พิษณุโลก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1.ทดลองรูปแบบการปฏิบัติการเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน 2. นำเสนอรูปแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนภายใต้แนวคิดทุนทางสังคมในจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง ตำบลชุมแสงสงครามและตำบลวังอิทก อำเภอบางระกำ เนื่องจากทั้งสามตำบลมีสถิติของจำนวนครัวเรือนและจำนวนคนจนมากที่สุด การวิจัยนี้เป็นการดำเนินการร่วมกันโดยความร่วมมือระหว่างนักวิจัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การออกแบบกระบวนการวิจัยใช้แนวคิดทุนทางสังคมเป็นกรอบในการออกแบบ จากกระบวนการวิจัยส่งผลให้งานวิจัยนี้สามารถได้นำเสนอรูปแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนภายใต้แนวคิดทุนทางสังคมโดยสามารถสร้างความไว้วางใจทั้งทางการเมืองและทางสังคม การมีเครือข่ายทางสังคมและการช่วยเหลือเกื้อกูลกันผ่านกลไกต่าง ๆ ที่งานวิจัยได้ออกแบบไว้ ได้แก่ฐานและระบบข้อมูล คณะทำงาน ระบบกลไกและ (ร่าง) ข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติแก้จนในพื้นที่ ซึ่งสามารถคาดหมายได้ว่าแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ต่อไปในอนาคต

ผลการวิจัยพบว่า การได้มาซึ่ง 1) ข้อมูลครัวเรือนยากจนในพื้นที่การวิจัย 2) คณะทำงานแก้ไขปัญหาผ่านทีมปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ 3) ระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนในพื้นที่ซึ่งอยู่ในรูปแบบของแพลตฟอร์ม Line Official 4) (ร่าง) ข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติแก้จนในพื้นที่ พร้อมข้อเสนอแนะ 5) ระบบกลไกเมนูแก้จนในพื้นที่ และ 6) ข้อเสนอรูปแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนภายใต้แนวคิดทุนทางสังคมในจังหวัดพิษณุโลก

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). Dashboard: ระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่. สืบค้น 24 ตุลาคม 2564, จาก https://shorturl.asiia/NGLHO

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). รายงานการวิเคราะห์ สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2563. สืบค้น 24 ตุลาคม 2564, จาก https://shorturl.asia/vzEB5

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก. (2564). จังหวัดพิษณุโลก ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำด้วย TPMAP??. สืบค้น 24 ตุลาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/6iOqx

Cook, K. S. (2005). Networks, norms, and trust: The social psychology of social capital 2004 cooley mead award address. Social Psychology Quarterly, 68(1), 4-14.

Deng, X. & Peng, S. (2018). Trust, norms and networks in social media environmental mobilization: A social capital analysis of under the dome in China. Asian Journal of Communication, 28(5), 526-540.

Johnston, G. & Percy-Smith, J. (2003). In search of social capital. Policy & Politics, 31(3), 321-334.

Keefer, P. & Knack, S. (2008). Social capital, social norms and the new institutional economics. In L. Ménard & M. M. Shirley (Eds), Handbook of new institutional economics. (pp. 701-725). Berlin: Springer.

Lyon, F. (2000). Trust, networks and norms: The creation of social capital in agricultural economies in Ghana. World Development, 28(4), 663-681.

Plagens, G. K. (2011). Social capital and education: Implications for student and school performance. Education and Culture, 27(1), 40-64.

Szreter, S. & Woolcock, M. (2004). Health by association? Social capital, social theory, and the political economy of public health. International Journal of Epidemiology, 33(4), 650-667.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite

สร้อยทอง ป., สุขสวัสดิ์ ว., คงสัจวิวัฒน์ ด., & พงษ์พานิช อ. (2024). การแก้ไขปัญหาความยากจนภายใต้แนวคิดทุนทางสังคม: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(2), 391–404. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/262317