ยุทธศาสตร์การเมืองและกลยุทธ์ของพรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรคอนาคตใหม่ ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • พิมพ์นารา อัสดรวิเศษสุด มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

พรรคการเมือง, ยุทธศาสตร์การเมือง, กลยุทธ์การเมือง, การตลาดการเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การเมืองและกลยุทธ์ของพรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรคอนาคตใหม่ ที่นำมาใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปแบบอุปนัย

ผลการวิจัยพบว่า ทั้ง 3 พรรค ได้นำรูปแบบทางการตลาดมากำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการหาเสียงเลือกตั้ง คือ การจำแนกแยกกลุ่มผู้สิทธิเลือกตั้งออกเป็นกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก กลุ่มแรงงาน และกลุ่มผู้ที่หลากหลายทางเพศ การวางตำแหน่งของผู้สมัครใช้ลักษณะคนเดิม คนที่มีความนิยมของพื้นที่ และคนหน้าใหม่ที่สนใจการเมือง และบุคคลที่มีภาพลักษณ์ทางการเมืองดีและเป็นที่นิยมของกลุ่มผู้เลือกตั้ง แผนการตลาด 4 Ps ของทั้ง 3 พรรคใช้ (P1) ตัวผลิตภัณฑ์ คือ นโยบาย ผู้สมัคร และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี (P2) ปัจจัยผลักดัน คือ อาศัยช่องทางเครือข่าย หัวคะแนน ลงพื้นที่ปราศรัย และกิจกรรมของพรรคที่ลงพื้นที่ (P3) ปัจจัยดึงดูด คือ ภาพลักษณ์ผู้สมัครพรรค และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และสื่อมวลชนสาขาต่าง ๆ (P4) การสำรวจความนิยม คือ ใช้การประเมินจากสำนักโพลเป็นฐานประเมินผลความนิยมและจำนวนผู้เข้าชมเพจผู้สมัคร และพรรคที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

References

กตัญญู แก้วหานาม และพิมพ์ลิขิต แก้วหานาม (2563). ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า.

ชำนาญ จันทร์เรือง. (2563, 9 มีนาคม). รองหัวพรรคอนาคตใหม่ [บทสัมภาษณ์].

ฐปนรรต พรหมอินทร์ (2563). ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า.

ถวิลวดี บุรีกุล (2558). การเมืองเรื่องเลือกตั้งและปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง และผู้สมัคร : วิเคราะห์จากการเลือกตั้ง 3 กค. 2554. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 9(2) 1-28.

บุรฉัตร พานธงรักษ์ (2555). การตลาดทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บูฆอรี ยีหมะ (2563). ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

ปวีณ์นุช ยิ้มภักดี และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ (2563). ปัจจัยในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 24 มีนาคม 2563 กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี เขตเลือกตั้งที่ 4. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 (2561, 15 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 68 ก. หน้า 40.

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (2563). ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า.

พิสมัย ศรีเนตร และจันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ (2563). ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า.

ศุทธิกานต์ มีจั่น (2563). ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า.

ศิวัช ศรีโภคางกุล. (2563). ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า.

ลลิตพรรณ นุกูลวัฒนวิชัย (2559). การตลาดทางการเมือง : ศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัณหพจน์ สุขศรีเมือง. (2563, 9 มีนาคม). รองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ [บทสัมภาษณ์].

สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์. (2563, 9 มีนาคม ). ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย [บทสัมภาษณ์].

สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง. (2562). ประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อราษฎร. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2562, จาก https://shorturl.asia/b89z2

Newman, B. I. (1994). The marketing of the president : Political marketing as campaign Strategy. Thousand Oaks, London, & New Delhi: SAGE Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite

อัสดรวิเศษสุด พ. (2024). ยุทธศาสตร์การเมืองและกลยุทธ์ของพรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรคอนาคตใหม่ ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(4), 222–233. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/262123