มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมของการชะลอฟ้องสำหรับราชอาณาจักรไทย
คำสำคัญ:
มาตรการทางกฎหมาย, การชะลอฟ้อง, ราชอาณาจักรไทยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการการสั่งชะลอการฟ้องในราชอาณาจักรไทย 2. เพื่อศึกษามาตรการการสั่งชะลอการฟ้องในราชอาณาจักรและในต่างประเทศ และ 3. เพื่อศึกษาหาความเหมาะสมของรูปแบบและมาตรการการสั่งชะลอการฟ้องของพนักงานอัยการในราชอาณาจักร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความเชื่อมโยงเนื้อหาอย่างเป็นระบบ
ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการการสั่งชะลอการฟ้องในราชอาณาจักรไทย พบว่า เป็นการคุมประพฤติไว้ในชั้นก่อนฟ้องคดี ดำเนินการกับผู้กระทำผิดอาญาที่ไม่มีจิตใจชั่วร้ายโดยไม่จำต้องฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมเสมอไป 2. มาตรการการสั่งชะลอการฟ้องในราชอาณาจักรและในต่างประเทศ พบว่า ประเทศไทยจะมีองค์กรตรวจสอบและผู้ปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาตรวจสอบถ่วงดุลอัยการ ได้แยกอำนาจสอบสวนกับอำนาจฟ้องร้องคดีอาญาออกจากกัน โดยให้องค์กรตำรวจเป็นผู้ถืออำนาจสอบสวน 3. ความเหมาะสมของรูปแบบและมาตรการการสั่งชะลอการฟ้องในราชอาณาจักร พบว่า ไม่ว่าโดยวิธีใด ล้วนต่างมีข้อดีข้อเสียในตัวเอง บ้างก็เหมาะสมลงตัวในการปรับใช้แก่ประเทศหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันกลับไม่สามารถส่งประสิทธิผลได้ในอีกประเทศหนึ่ง ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในของประเทศนั้น ๆ สำหรับประเทศไทย หากพิจารณาในเชิงระบบกฎหมาย ก็จะถูกจัดให้เป็นประเทศที่ใช้ระบบประมวล
References
กรมอัยการ. (2520). โครงการชะลอการฟ้อง ระเบียบว่าด้วยการชะลอการฟ้อง พ.ศ.2520. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2540). บนเส้นทางแห่งหลักนิติธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2521). หลักการฟ้องคดีอาญาเชิงบังคับและขอบเขตการใช้ดุลพินิจของอัยการเยอรมัน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จรัญ โฆษณานันท์. (2561). นิติปรัชญา (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทิวากร พนาวัลย์สมบัติ. (2558). การใช้ดุลพินิจในการเบี่ยงเบนคดีอาญาที่ไม่ร้ายแรง ศึกษาเฉพาะกรณีศาลจังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.
ธานี เสนาธิบดี.(2562). บทบาทของศาลในการตรวจสอบการชะลอฟ้องคดีอาญา. วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์, 12(1), 51-63.
ปวีณา นารีเลิศ. (2563). การชะลอฟ้องในคดีอาญา: ศึกษากรณีความผิดด้านฉลากสินค้า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 (สารนิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
มนตรี สิงหะ.(2565). การนำมาตรการชะลอการฟ้องมาใช้ในประเทศไทย. สืบค้น 2 มีนาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/qLIsS
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น