การดำเนินงานขององค์กรเพื่อสังคมที่ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในบริบทประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี ขุนทองจันทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

องค์กรเพื่อสังคม, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, บริบทประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาขอบข่ายและบทบาทการทำงานขององค์กรเพื่อสังคมที่เสริมสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย 2. ศึกษาสภาพการดำเนินงานขององค์กรเพื่อสังคมในประเทศไทย และ 3. ศึกษาทัศนคติของสังคม แรงจูงใจของผู้บริจาค ทัศนคติของสื่อมวลชนที่มีต่อองค์กรเพื่อสังคมในประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากองค์กรเพื่อสังคม 124 องค์กร ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ Doing Good Index ผ่านเว็บไซต์ Survey Monkey และสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่า 1. ขอบข่ายการทำงานขององค์กรเพื่อสังคมส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ สวัสดิการเยาวชน และ/หรือเด็ก สำหรับบทบาทหลักที่ขององค์กรเพื่อสังคมส่วนใหญ่มีบทบาทเพื่อให้บุคคลหรือองค์กรเอกชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคม 2. สภาพการดำเนินงานขององค์กรเพื่อสังคม พบว่า การดำเนินงานมีโครงสร้างการบริหารและคณะกรรมการ และมีการประชุมทุก 3 เดือน และ 3. ทัศนคติของสังคม แรงจูงใจของผู้บริจาค ทัศนคติของสื่อมวลชนที่มีต่อองค์กรเพื่อสังคมนั้นพบว่า ทัศนคติของสังคมค่อนข้างไว้วางใจองค์กรเพื่อสังคม และมองเห็นประโยชน์ในการทำงานแก้ปัญหาทางสังคมอย่างต่อเนื่อง ในด้านแรงจูงใจของผู้บริจาค พบว่า ผู้บริจาคให้การสนับสนุนองค์กรเพื่อสังคมเป็นบางครั้ง และสื่อมวลชนมีทัศนคติที่ดีต่อองค์การเพื่อสังคม การนำเสนอข่าวอย่างเป็นกลางและตรงไปตรงมา ช่วยสร้างจิตสำนึกการเป็นอาสาสมัครและการเป็นผู้ให้

 

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). ระบบสารสนเทศด้านสังคม. สืบค้น 23 สิงหาคม 2563, จาก http://mis.m-society.go.th/

เดชพันธุ์ ประวิชัย. (2554). สื่อมวลชนกับบทบาทการพัฒนาในยุคสมัยใหม่. วารสารนักบริหาร, 31(1), 101-105.

มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์. (2562). รายงานสถานการณ์สิทธิด้านเอดส์ เพศภาวะและความเป็นกลุ่มประชากรเปราะบางต่อการเลือกปฏิบัติประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: บริษัท บุ๊คพลัส พับลิชชิง จำกัด.

สถาบันไทยพัฒน์. (2558). ภาคธุรกิจกว่า 30 องค์กร ประกาศสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับเด็ก. สืบค้น 9 มีนาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/xsMzf

สานิตย์ หนูนิล. (2555). กิจการเพื่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย, 32(4), 196-206.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). จำนวนองค์กรเพื่อสาธารณประโยชน์ ปี 2561. สืบค้น 9 มีนาคม 2565, จาก http://www.nso.go.th/sites

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้น 9 มีนาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/GZc89

Centre for Asian Philanthropy and Society (CAPS). (2018). Doing Good Index. Retrieved March 9, 2022, from https://caps.org/

Phaholyothin, N. (2017). Moving beyond charity to philanthropy? The case of charitable giving in Thailand. Austrian Journal of South-East Asian Studies, 10(2), 185-203.

United Nations Development Programme. (2019). Human Development Index Ranking. Retrieved March 9, 2022, from https://shorturl.asia/XzHq2

World Development Indicators. (2013). Government expenditure on education, total. Retrieved March 9, 2022, from https://shorturl.asia/ONxo2

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite

ขุนทองจันทร์ ส. (2024). การดำเนินงานขององค์กรเพื่อสังคมที่ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในบริบทประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(2), 349–359. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/261253