การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ด้วยการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ตามกระบวนการ Double Diamond De-Sign ร่วมกับแนวคิด เมคเกอร์สเปซ เรื่อง สมดุลกล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
ทักษะความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม, กระบวนการ Double Diamond De-Sign, เมคเกอร์สเปซ, การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์, สมดุลกลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ และ 2. ศึกษาผลการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ด้วยการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ตามกระบวนการ Double Diamond De-Sign ร่วมกับแนวคิดเมคเกอร์สเปซ เรื่อง สมดุลกล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 36 คน ปีการศึกษา พ.ศ. 2564 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67-1.00 ทุกข้อ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า
ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการจัดการเรียนรู้ควรมีลักษณะดังนี้ 1. ขั้นการคิดค้นข้อมูลใน Study space ควรนำเสนอสถานการณ์ปัญหาที่ท้าทาย 2. ขั้นการคิดวิเคราะห์เพื่อสรุปโจทย์ใน Sharing Space ควรใช้โปรแกรมการทดลองออนไลน์ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำถามและแสวงหาคำตอบเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ ขั้นการพัฒนาความคิดใน Safe Box Space ควรเอื้ออำนวยให้เกิดการสร้าง และทดสอบประสิทธิภาพชิ้นงาน ขั้นการพัฒนาเพื่อส่งมอบสู่ผู้ใช้ใน Spotlight Space ควรนำชิ้นงานไปใช้ในสถานการณ์จริง และเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ โดยมี Special Advice Space เป็นช่องทางที่ครูและผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมให้คำแนะนำตลอดการจัดกิจกรรม และ 2. ผลจากการจัดการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมจากขั้นพื้นฐานเป็นขั้นสูงได้ โดยเฉพาะพฤติกรรมการเปิดกว้างและความกล้าในการสำรวจเพิ่มมากที่สุด
References
จินตนา รุ่งเรือง. (2557). ผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 4(2), 75-87.
เจริญ ภูวิจิตร. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. สืบค้น 20 กันยายน 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/693689
ชาญวิทย์ คําเจริญ. (2563). การตรวจสอบการใช้แบบจำลองโต้ตอบเสมือนจริง สำหรับการสอนไฟฟ้ากระแสตรง. วารสารศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปตตานี, 31(2), 25-37.
ณฐวัฒน์ ล่องทอง. (2561). การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 เพื่อความสุขใจในการทำงาน. สืบค้น 20 กันยายน 2564, จาก https://shorturl.asia/eumCa
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
นำโชค อุ่นเวียง. (2563). ครูสังคมยุค 4.0. สืบค้น 20 กันยายน 2564, จากhttps://www.kruwandee.com/news-id39221.html
เบนยามิน วงษ์ประเสริฐ. (2561). การจัดกิจกรรมสนุกกับโค้ดและนักประดิษฐ์ Makerspace. สืบค้น 20 กันยายน 2564, จาก https://shorturl.asia/JOhId
ไปรมา อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2560). DESIGN THINKING: LEARNING BY DOING. สืบค้น 20 กันยายน 2564, จาก http://resource.tcdc.or.th/ebook/Design.Thing king. Learning.by.Doing.pdf
พิชญา กล้าหาญ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2565, จาก file:///C:/Users/PC/Downloads/cujournaledupongo,+%7B$userGroup%7D,+EDUCU4902013.pdf
ภานุวัฒน์ เกียรตินฤมล. (2564). STEM Maker การสร้างนักประดิษฐ์. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://shorturl.asia/x5A9F
ลลิตา ณ หนองคาย และธงชัย แก้วกิริยา. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) บน Cloud Computing ด้วย Google Apps. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 34(3), 11-34.
วิทยา วาโย และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2564). รายงาน IMD World Competitiveness Ranking 2021. สืบค้น 20 เมษายน 2564, จาก ttps://shorturl.asia/q8oGV
สุมินตรา จีนเมือง และธิติยา บงกชเพชร. (2562). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เรื่อง แสง เพื่อส่งเสริมคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(1), 59-74.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). ประเทศไทย 4.0. สืบค้น 25 เมษายน 2564, จาก https://shorturl.asia/oKgFd
Blackley, S. (2018). Using a Makerspace approach to engage Indonesian primary students with STEM. Retrieved March 1, 2022, From http://www.iier.org.au/iier28/blackley.pdf
Catalina Foothills School District CFSD. (2018). Creativity and Innovation Rubric Grades 9-12. Retrieved September 14, 2021, From https://shorturl.asia/iM5Q1
Design Council. (2020). What Is the Framework for Innovation? Design Council’s Evolved Double Diamond. Retrieved September 14, 2021, From https://shorturl.asia/Yw6HQ
International Institute for Management Development. (2021). World Competitiveness Ranking 2021. Retrieved March 1, 2022, From https://shorturl.asia/EieHk
Schmuck, R. A. (2006). Practical Action Research for Change. Thousand Oaks, California: Corwin Press.
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2016). PISA 2015. Retrieved July 1, 2021, From http://pisathailand.ipst.ac.th/
Wood, K. L. et al. (2018). Design and Maker-Based Learning: From Known Knowledge to Creating New Knowledge. Retrieved September 20, 2021, From https://shorturl.asia/Dkq6p
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น