รูปแบบการบริหารความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
การบริหาร, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยและพัฒนา ใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่ร่วมพิธีกรรมทางศาสนา ณ โบสถ์พระมหาไถ่ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบวัดเจตคติที่มีต่อกิจกรรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบประเมินกิจกรรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ฯลฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ เป็นต้น
ผลการวิจัยพบว่า มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการจัดการตนเองการดูแลสุขภาพตนเอง และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ การทดลองใช้รูปแบบมีดังนี้ 1) คะแนนเฉลี่ยของความรอบรู้ด้านสุขภาพหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมในทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ค่าคะแนนเฉลี่ยเจตคติหลังการปฏิบัติกิจกรรม
สูงกว่าก่อนการปฏิบัติกิจกรรมในทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .012 3) ผลการประเมินความเหมาะสมของการปฏิบัติกิจกรรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.32
References
ใกล้รุ่ง คำภิลานน และคณะ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความฉลาดทางสุขภาวะเกี่ยวกับโรคอ้วนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(3), 250-264.
นงลักษณ์ แก้วทอง และคณะ. (2557). ความแตกฉานด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนองหอย จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมรานี กรุงเทพ, 30(1), 45-55.
ประนอม โอกานนท์. (2544). การพัฒนารูปแบบชมรมผู้สูงอายุ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาศรี ภูมิถาวร และคณะ. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความฉลาดทางสุขภาพสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกิน. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 42(2), 171-180.
วีณา เที่ยงธรรม และคณะ. (2552). โปรแกรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในระดับปฐมภูมิในชุมชน จังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 22(1-3), 17-18.
ศรีสุดา พรหมภักดี และคณะ. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยกระบวนการ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันความรุนแรงทางด้านร่างกายของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(2), 144-150.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2557). สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยี ภาคใต้, 7(1), 73-82.
สุภาพ พุทธปัญโญ และคณะ. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพต่อความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมการลดน้ำหนักของบุคลากรที่มีภาวะโภชนาการเกินในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(4), 42-59.
โสภณ เมฆธน. (2560). อ่านความคิดชีวิตผ่าน FB. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พี เอ็น เอส ครีเอชั่น.
อติญาณ์ ศรเกษตริน และคณะ. (2560). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลคลองฉนาก อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 253-264.
อรนุช พงษ์สมบูรณ์. (2552). โปรแกรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในระดับปฐมภูมิในชุมชน จังหวัดนครปฐม (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
อรวรรณ นามมนตรี. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy). วารสารทันตาภิบาล, 29(1), 122-128.
อัญชลี จันทรินทรากร. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในเขตเทศบาลตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อาณัติ วรรณศรี และคณะ. (2558). โครงการพัฒนาความแตกฉานด้านสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.).
Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy: what can we learn from literacy studies?. International Journal of Public Health and Health Sciences, 67(12), 2072-2078.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น