องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ผู้แต่ง

  • สรัยณ์อร บุญมี มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • พิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • ธนีนาฏ ณ สุนทร มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

คำสำคัญ:

ผู้อำนวยการศูนย์, ภาวะผู้นำ, ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ 2. เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ประเภทของการวิจัยเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการศูนย์ฯ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ จำนวน 928 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มี 2 ตอนคือ
1. แบบสอบถามภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง 2. แบบสอบถามความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติขององค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการศูนย์ฯ การเก็บรวบรวมข้อมูลทำหนังสือขอความร่วมมือ ชี้แจงวัตถุประสงค์การวิจัยถึงกลุ่มตัวอย่าง เพื่ออธิบายถึงจุดมุ่งหมายการทำวิจัย และขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น

ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการศูนย์ฯ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ 1 การบริหารจัดการสถานศึกษา 2 การส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการสถานศึกษา 3 การบริหารจัดการหลักสูตรและการสอน 4 ส่งเสริมและพัฒนาทักษะครู และ 5 การบริหารตนเอง ทีมงาน และความสัมพันธ์กับชุมชน ทุกองค์ประกอบมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และมีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ ที่แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (Chi-Square = 8.698, df = 4, p = .06)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จินตนา ทิศกระโทก. (2559). ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พรรษมน พินทสมิ. (2560). การปฏิบัติงานการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2557). การบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 5). สงขลา: บริษัทนำศิลป์โฆษณา จำกัด.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2556). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ธีระ รุญเจริญ. (2557). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.

สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), 1-8.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2549). การศึกษาและสังเคราะห์รูปแบบการบริหารสถานศึกษาการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาและสถานศึกษาเครือข่ายของ ผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ รุ่นที่ 1. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2555). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการจัดการศึกษา/การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ. วารสารครุศาสตร์, 40(1), 14-28.

อังคณา ฉางข้าวคำ. (2557). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ของศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-24

How to Cite

บุญมี ส., อมรกิจภิญโญ พ., & ณ สุนทร ธ. (2023). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(4), 351–364. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/261143