กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายย่อย ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • ยอดชาย สมขำ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ตรีเนตร ตันตระกูล มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายย่อย, ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ปัจจัยคุณลักษณะ 2. ศึกษาระดับ 3. ศึกษากลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายย่อยในพื้นที่ ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นการวิจัยผสานวิธี ประชากร ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายย่อย ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 50 คน จังหวัดระยอง จำนวน 50 คน และจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 50 คน รวม 150 คน โดยการใช้เทคนิคการเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 150 ราย ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานทางการวิจัย ที่ประกอบด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายย่อยจำนวน 10 คน นักวิชาการ จำนวน 2 คน ตัวแทนจากภาคส่วนราชการ จำนวน 3 คน รวมเป็น จำนวน 15 คน

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายย่อยที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ย่อยในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีงบลงทุนโครงการ 50 – 100 ล้านบาท มีงบลงทุนโครงการ 101 – 200 ล้านบาท มีประสบการณ์ส่วนใหญ่ 5 – 10 ปี มีบุคลากรส่วนใหญ่มีมากกว่า 10 คน ผู้ปฏิบัติงานส่วนมากเป็นวิศวกรโยธา รองลงมาเป็นที่ปรึกษาความเสี่ยง
ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย และที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม ตามลำดับ 2. ระดับการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายย่อยในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 3. กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายย่อยในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ดีนั้น ต้องมีลักษณะการเป็นผู้นำที่เน้นการใช้นวัตกรรม นำเอาความคิดใหม่หรือการนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). ข้อมูลธุรกิจในพื้นที่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/yUqYS

ธนานันต์ มาซีดี. (2561). ความเสี่ยงและความสามารถของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อการตลาดขยะรีไซเคิลของนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

นพดล พันธุ์พานิช. (2563). กลยุทธ์ทางธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหลังวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 39-52.

นิกิตธวัช บุญทวี และคณะ. (2564). ความเป็นผู้ประกอบการ การจัดการความรู้ กลยุทธ์การตลาด ความสามารถทางนวัตกรรม และผลการดำเนินงานของธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยและส่เสริมการเกษตร, 38(1), 108-125.

ลัดดา วิศวผลบุญ และวรางคณา โพธิรักษ์. (2563). การบริหารจัดการกลยุทธ์การตลาดธุรกิจแผ่นเหล็กเพื่อนําไปสู่ความสําเร็จสูงสุด. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 6(2), 145-154.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัศวิทย์ อินทร์น้อย. (2562). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ผ่าน พ้นวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 21(1), 215-226.

เอกพร รักความสุข. (2560). การให้บริการสาธารณะแนวใหม่โดยสำนักงานรัฐสภาประจำจังหวัด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 139-151.

Chang, et al. (1995). Measuring Organizational Improvement Impact. [n.p.] : Jossey Bass Pfeiffer.

Nuntanach, D. (2019). Government policy to drive the economy to build confidence in Real estate business. Retrieved May 25, 2023, from https://shorturl.asia/eV8IB

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite

สมขำ ย., & ตันตระกูล ต. (2024). กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายย่อย ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(2), 108–121. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/260839