การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ตามทัศนะของครูโรงเรียน ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 2

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา หุยวัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุดารัตน์ สารสว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุชาดา นันทะไชย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, โรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2. เปรียบเทียบทัศนะของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019และ 3. ศึกษาปัญหาที่พบตามทัศนะของครูโรงเรียนขนาดเล็กในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 81 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ผลการเปรียบเทียบทัศนะของครูโรงเรียนขนาดเล็กจากวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานมีทัศนะไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05 3. ปัญหาที่พบตามทัศนะของครูดังนี้ หลักสูตรสถานศึกษายังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์บริบทโรงเรียนขนาดเล็ก กิจกรรมการเรียนการสอนไม่ต่อเนื่องเท่าที่ควร สื่อเทคโนโลยีการจัดการศึกษาออนไลน์ไม่หลากหลาย ทักษะหรือเกณฑ์ที่ใช้ในการวัดประเมินผลการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ การชี้แนะสิ่งที่ควรพัฒนาปรับปรุงแก้ไขจากการนิเทศไม่ต่อเนื่อง และสร้างความเข้าใจระบบประกันคุณภาพ มาตรฐานการศึกษาไม่ชัดเจน ไม่เหมาะสมกับโรงเรียนขนาดเล็ก

References

กรมควบคุมโรค. (2564). แนวปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสถานศึกษา. สืบค้น 4 มีนาคม 2564, จาก https://shorturl.asia/yPz5w

กาญจน์ เรืองมนตรี และธรนิธร นามวรรณ. (2554). การบริหารวิชาการ และนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

นงค์นุช จอมเกาะ. (2564). การนิเทศภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอสีคิ้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วารสารสู่ชีวิตใหม่ด้านงานวิจัยทางสุขภาพและการบริการ, 12(8), 131-139.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

พร้อมพงศ์ รักประชา. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารวิชาการกับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ 75 ปี, 13(1), 73-84.

วราลี ทองแก้ว. (2559). ความคิดเห็นด้านการบริหารงานวิชาการของข้าราชการครูกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายภูผานาสัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพรเขต 2. สืบค้น 28 กันยายน 2564, จาก https://shorturl.asia/MRpX4

ศิวพร ละหารเพชร. (2562). ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขนาดเล็กตามความ คิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สุวิมล มธุรส (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.

อัมภาพร ราชนิแพน. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในสำนักงานเขตห้วยขวาง สังกัดกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Huber, D. L. (2007). Leadership and nursing care management (3rd Ed.). Philadelphia. PA: Saunders Elsevier.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01

How to Cite

หุยวัน เ., สารสว่าง ส., & นันทะไชย ส. (2024). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ตามทัศนะของครูโรงเรียน ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 2. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(2), 303–318. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/260689