ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของลูกจ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ปฐมพงค์ กุกแก้ว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ธีรารัตน์ ปางยะพันธุ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ขวัญฤดี เผือกผ่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาข้อมูลทั่วไปของลูกจ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี 2. วิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของลูกจ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3. ทำนายปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของลูกจ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี ประชากร คือ ลูกจ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 60 คน และใช้ประชากรทั้งหมดแทนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของลูกจ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ด้านลักษณะของงาน ด้านความสำเร็จของงาน และด้านการได้รับการยอมรับนับถือ โดยมีอำนาจทำนายร้อยละ 65.70 และปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของลูกจ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ ด้านสวัสดิการและค่าตอบแทน โดยมีอำนาจทำนายร้อยละ 25.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05    

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิดา ลิ้นจี่ และคณะ. (2564). การบริหารการจัดการที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชตภาคย์, 15(40), 124-134.

ณัฏฐ์พัชร์ ลาภบำรุงวงศ์. (2562). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 9(2), 161-171.

นิดา ประพฤติธรรม. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. วารสารบริหารธุรกิจ, 10(2), 58-80.

ปทิตตา จันทวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของลูกจ้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรทวี เถื่อนคำแสน และบุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(1), 1-23.

พระมหาคณาธิป จันทร์สง่า. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักงานเขตสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสยาม.

ภูริภัสร์ ตันติเศรษฐภักดี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ : กรณีศึกษา กองทะเบียนพล สำนักงานกำลังพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. สืบค้น 12 มกราคม 2565, จาก http://www3.ru.ac.th/mpa

สมพร บุญคุณ และนพดล บุรณนัฏ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัย การบริหารการพัฒนา, 9(2), 36-46.

สุทิน ชนะบุญ. (2560). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเบื้องต้น. สืบค้น 12 มิถุนายน 2564, จาก http://kkpho.go.th/km/index.php/2017-08-10-06-37

สุวภัทร ศรีสว่าง และณัฐพร ฉายประเสริฐ. (2562). สวัสดิการและค่าตอบแทนการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3), 294-303.

Herzberg, F., et al. (1959). The motivation to work. New York: John Willey & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01

How to Cite

กุกแก้ว ป., ปางยะพันธุ์ ธ., & เผือกผ่อง ข. (2024). ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของลูกจ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(1), 137–148. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/259495