แนวทางการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของพลทหารกองประจำการในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • มณฑิตา ชมดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง, พลทหารกองประจำการ, หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาปัจจัยในการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของพลทหารกองประจำการในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับขั้นพื้นฐาน 2. นำเสนอแนวทางการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของพลทหารกองประจำการในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือ พลทหารกองประจำการในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1,140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยในการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง

ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยในการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. แนวทางการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของพลทหารกองประจำการ ดังนี้ 1) สัมพันธภาพกับครูและเพื่อน 2) การเห็นคุณค่าในตนเอง 3) บทบาทของครู 4) การเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง 5) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

References

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2559). คู่มือการดำเนินงานการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (กลุ่มเป้าหมายในหน่วยทหาร). กรุงเทพฯ: รังสีการพิมพ์.

กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้น 25 ตุลาคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/news.php

กรมวิชาการ. (2546). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

คมกฤช คำตา. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนิสิตแพทย์ชั้นปรีคลินิกมหาวิทยาลัยนเรศวร (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีระ ยอน. (2562). ปัจจัยคัดสรรทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดกำปงธม ราชอาณาจักรกัมพูชา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพณัฐ เลิศสุทธิผล และคณะ. (2562). การรับรู้ในหลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และความพร้อมในการชี้นำตนเองของผู้เรียนชาวไทยที่เรียนภาษาอังกฤษด้วยแรงจูงใจที่แตกต่างกันสองประเภท. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(3), 425-437.

พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497. (2497, 16 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 71 ตอนที่ 13. น. 195-226.

ปนิดา ทวีชาติ (2560) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 28. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(1), 143-153.

วิทยา วาโย และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(34), 285-298.

วีรพล แก้วพันธ์อ่ำ และคณะ. (2563). ความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองในแต่ละช่วงอายุของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนสระแก้วผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(1), 98-112.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2551). พัฒนาการการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมสำหรับผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาทิตยา ดวงมณี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนกับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ. วารสารแพทย์นาวี, 44(2), 19-35.

Guglielmino, L. M. (1977). Development of the self-directed learningreadiness scale. The United States of America: University of Georgia.

Knowles, M. (1975). Adult learning processes: Pedagogy and andragogy. Religious Education, 72(2), 202-211.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01

How to Cite

ชมดี ม., & ปทุมเจริญวัฒนา ว. (2024). แนวทางการส่งเสริมความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของพลทหารกองประจำการในหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับขั้นพื้นฐาน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(1), 204–216. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/259421