การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การพัฒนาศักยภาพ, การบริหารจัดการ, ศาสนสมบัติของวัดบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในกรุงเทพมหานคร เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามโดยในการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน ได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่มีค่าดัชนีวัดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ 1.00 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจับพบว่า รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย กระบวนการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัด 7 ด้าน ได้แก่
1) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 2) การบริหารการเปลี่ยนแปลงกับสถานการณ์ปัจจุบัน 3) การทำงานเป็นทีม 4) การติดต่อสื่อสาร 5) การแก้ปัญหาและตัดสินใจ 6) ภาวะผู้นำของเจ้าอาวาส และ
7) ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรมใหม่ ผ่านการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัด ทั้ง 8 ด้านคือ 1) ด้านการลงทะเบียนศาสนสมบัติของวัด 2) ด้านการกันที่ดินซึ่งเป็นที่วัดให้เป็นที่จัดประโยชน์ 3) ด้านการให้เช่าที่ดินหรืออาคาร 4) ด้านการให้เช่าที่ธรณีสงฆ์ 5) ด้านการเก็บรักษาเงินของวัด 6) ด้านการแต่งตั้ง ทำบัญชีรับจ่ายเงินของวัด 7) ด้านการจัดการข้อร้องเรียน และ
8) ด้านการกำหนดแบบทะเบียน บัญชี แบบสัญญา และแบบพิมพ์อื่น ๆ โดยยึดการบริหารแบบมีส่วนร่วมและธรรมาภิบาล
References
กรมการศาสนา. (2550). พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
ข่าวไทยพีบีเอส. (2563). จำคุก 3 ปี เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร ทุบโบราณสถาน. สืบค้น 31 ธันวาคม 2563, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/279543
ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2547). มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
ไทยโพสต์. (2563). ฟ้องกันนัว กรมศิลป์-วัดศรีชุม เปิดศึกชิง พระอจนะ มรดกโลกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. สืบค้น 31 ธันวาคม 2563, จากhttps://www.thaipost.net/main/detail/5561
พระครูวินัยธรธรรมภณ ธมฺมพโล (แก้วแจ่มศรี). (2557). การพัฒนาการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวิสิฐพัชราจาร (ไชยยา เขมสิริ). (2557). การพัฒนาการจัดการสาธารณูปการของพระสังฆาธิการจังหวัดเพชรบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูโสภณปริยัตยานุยุต (เจมศักดิ์ กิตฺติวณฺโณ). (2558). กลยุทธ์การปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โพสต์ทูเดย์. (2563). ตร.เข้าลุยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างผิดกฎหมายธรรมกาย. สืบค้น 31 ธันวาคม 2563, จาก https://www.posttoday.com/social/general/472451
สยามรัฐออนไลน์. (2563). จี้อธิบดีสถ.ฟันธงแนวทางปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมอาคาร หวั่น “ท้องถิ่น-วัด” ขัดแย้ง. สืบค้น 31 ธันวาคม 2563, จาก https://siamrath.co.th/n/7872
สำนักงานศาสนสมบัติ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). คู่มือการดูแลและจัดการศาสนสมบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาสนสมบัติ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น