การศึกษาเปรียบเทียบการกระทำความผิดทางอาญาฐานฉ้อโกงผู้อื่น และประชาชนตามมาตรา 341, 343 แห่งประมวลกฎหมายอาญา กับการอวดอุตตริมนุสสธรรมตามอาบัติปาราชิกในสิกขาบทที่ 4
คำสำคัญ:
กระทำความผิดทางอาญาฐานฉ้อโกงผู้อื่นและประชาชน, การอวดอุตตริมนุสสธรรม, กฎหมายอาญาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาถึงปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย 2. เพื่อศึกษาเกณฑ์การวินิจฉัยการอวดอุตตริมนุสสธรรม 3. เพื่อศึกษาการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงผู้อื่นและประชาชน ใช้วิธีการวิจัยทางเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วิทยานิพนธ์ บทความ คำพิพากษาศาลฎีกา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. การอวดอุตตริมนุสสธรรมพระพุทธองค์มีพุทธบัญญัติไม่ให้ภิกษุอวดคุณวิเศษหรือการบรรลุธรรมอย่างสูงที่เกินปกติของมนุษย์สามัญ เจตนาในการบัญญัติสิกขาบทเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวมทั้งของตัวภิกษุเองและคฤหัสถ์ด้วย 2. อาบัติปาราชิกเน้นเจตนาเป็นสำคัญ หากภิกษุนั้นอวด และไม่ว่าจะอวดโดยตรงหรือทางอ้อม อวดผ่านสิ่งของต่าง ๆ ก็ถือว่าต้องอาบัติทั้งสิ้น อาบัติจะไม่รุนแรงถึงขั้นปาราชิกจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย 3. การกำหนดโทษนั้น เป็นการกำหนดโทษให้หนักขึ้นโดยพิจารณาจากผลของการกระทำมิได้ พิจารณาจากสถานะของตัวผู้กระทำ จึงควรกำหนดให้ภิกษุผู้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนต้องรับโทษจากสถานะของตนด้วยอีกบทหนึ่ง โดยการอวดอุตตริมนุสสธรรมนั้น ไม่ว่าจะมีในตนหรือไม่ ก็ล้วนแต่ทำให้พระศาสนาเสียหาย
References
จิตฤดี วีระเวสส์. (2558). คู่มือการฟ้องร้อง แนวทางการน าสืบ และต่อสู้ในคดีฉ้อโกง. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ปาริชาติ มั่นสกุล. (2546). การกำหนดมาตรการทางอาญาเกี่ยวกับการโจมตีค่าเงินบาท (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระครูโกศลธรรมานุสิฐ. (2562). พุทธศาสนากับการพัฒนาสังคมไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. Veridian E-Journal, 12(4), 1524-1539.
มานพ บุญชื่น. (2561). การศึกษาวิเคราะห์การอวดอุตตริมนุสสธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อมราวดี อังคสุวรรณ. (2531). กฎหมายอาญาและอำนาจรัฐในการรักษาความสงบรียบร้อยของสังคม. วารสารกฎหมาย, 2(12), 112-122.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น