การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โดยใช้ชุมชนเป็นฐานจังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
รูปแบบการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก, ชุมชนเป็นฐาน, การวิจัยเพื่อพัฒนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์สถานการณ์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพัฒนารูปแบบ และทดลองใช้และประเมินรูปแบบการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกที่พัฒนาขึ้น มีการดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวินิจฉัยปัญหาโดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 270 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ โดยภาคีเครือข่ายสุขภาพที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 12 คน และระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างในชุมชน 40 คน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ แผนกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นได้เน้นกิจกรรมการเฝ้าระวังพาหะนำโรค การเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม และการเฝ้าระวังโรค โดยความร่วมมืออย่างเต็มที่ของภาคีเครือข่ายสุขภาพ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัดการรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก และ HI และ CI วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ t-test
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนเป็นฐานที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิผลในการเปลี่ยนแปลง การรับรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) รวมถึงค่า HI และ CI ในบ้านของกลุ่มตัวอย่างลดลง สมาชิกเครือข่ายสุขภาพมีความพึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในระดับมากที่สุด (=4.58, S.D.=3.72) ข้อเสนอแนะคือ รูปแบบการการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกโดยใช้ชุมชนเป็นฐานนี้ควรนำไปใช้ในชุมชนอื่น ๆ และควรพัฒนาศักยภาพของสมาชิกเครือข่ายสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
References
กาญจนา ปัญญาธร และคณะ. (2563). ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 30(1), 1-11.
วิทยา ศรแก้ว. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลที่มีอัตราป่วยสูง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา, 2(1), 1-14.
สุจิตรา นิมมานนิตย์. (2556). โรคไข้เลือดออกเดงกี่. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข
Becker, MH & Maiman LA. (1975). Socio behavioral Determinants of Compliance with Health and Medical Care Recommendations. Medical Care, 8(13), 10-24.
Salazar D, Diegorojas. (1993). Folk Models and Household Ecology of Dengue Fever in An Urban Community of The Dominican Republic (Mexico). Dai-B, 54(4), 14-40.
World Health Organizaiton. (2009). Dengue, Guidelines for Diagnosis, Treatment, Prevention and Control, (New Edition). World Health Organization, Geneva Available at Retrieved January 5, 2020, from https://www.ncbi.nlm.nig.gov. books 5 Jan. 2020
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น