การสร้างสมการพยากรณ์การยอมรับการใช้แอพพลิเคชั่น MyMo ของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ สำราญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • โสรยา สุภาผล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • อัชรินทร์ ศรีสุข มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยี, พฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยี, การยอมรับใช้แอพพลิเคชั่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการยอมรับการใช้แอพพลิเคชั่น MyMo (2) ทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้แอพพลิเคชั่น MyMo และ (3) สร้างสมการพยากรณ์การยอมรับการใช้แอพพลิเคชั่น MyMo ของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าของธนาคารออมสิน สาขาสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ใช้บริการแอพพลิเคชั่น MyMo จำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการยอมรับการใช้แอพพลิเคชั่น MyMo โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ทัศนคติที่มีต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านความรู้สึก ด้านพฤติกรรม ส่งผลต่อส่งผลต่อการยอมรับการใช้แอพพลิเคชั่น MyMo ของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และพฤติกรรมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ด้านเป้าหมาย ด้านความพร้อม ด้านสถานการณ์ ด้านการแปลความหมาย ด้านการตอบสนอง และด้านผลลัพธ์ที่ตามมา ส่งผลต่อส่งผลต่อการยอมรับการใช้แอพพลิเคชั่น MyMo ของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คุณิตา เทพวงค์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอพพลิเคชั่น Bualuang mBanking ของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ ในเขตจังหวัดชลบุรี. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. 2(1), 1-9.

จักรพงษ์ ลีลาธนาคีรี. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการทำธุรกรรมทางการเงินบนสมาร์ทโฟนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จิรวัฒน์ วงศ์ธงชัย และกาญจนา สิริกุล. (2557). ปัจจัยด้านการรับรู้ที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีบาร์โค้ดสองมิติ ของผู้ใช้งานกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. Suranaree J. Soc. Sci, 8(1), 37-54.

ชำนาญ เงินดี และหทัยชนก วนิศรกุล. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับระบบการชำระเงินด้วย QR Code ร้านมนต์นมสด สาขาเชียงใหม่. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 14(27), 170.

ธนาคารออมสิน (2563). ข้อมูลธนาคารออมสิน. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์2563. จาก https://www.gsb.or.th/personal/personals/.

ธัญมาศ ทองมูลเล็ก และปรีชา วิจิตรธรรมรส. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในสังคมไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 114-124.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เลjม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-23

How to Cite

สำราญ ล., สุภาผล โ. ., & ศรีสุข อ. . (2023). การสร้างสมการพยากรณ์การยอมรับการใช้แอพพลิเคชั่น MyMo ของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี . วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(1), R166–177. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255781