การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยภารกิจต่อเนื่องฝ่ายวิจัย เพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
การส่งเสริมและสนับสนุน, ภารกิจต่อเนื่อง, ศูนย์วิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดลำพูนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์ผลการวิจัยภายใต้กรอบภารกิจของโครงการเพื่อนำผลการศึกษาไปพัฒนาการปฏิบัติงานตามหน้าที่และอำนาจของ สกสว. 2. เพื่อติดตามและสนับสนุนโครงการวิจัย จำนวน 6 โครงการ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด 3. เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย (RE) จำนวน 6 เรื่อง และเกิดการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ และ 4. เพื่อเกิดการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยชาวบ้านและสร้างภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานในหลากหลายระดับ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ผ่านกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR) วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลและการอธิบายผลการวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และการวิจัยตามวัตถุประสงค์ทั้งการวิจัยพื้นฐานและการประยุกต์
พบว่า 1) สามารถปิดโครงการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด มีการใช้ประโยชน์จากโครงการวิจัย สามารถสรุปความรู้กระบวนการหนุนเสริมโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นตั้งแต่ต้นทางจนถึงปิดโครงการวิจัย 2) การติดตามสนับสนุนโครงการวิจัยที่อยู่ระหว่างการดำเนินการให้มีคุณภาพ มีการนำเอาองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) มีการยกระดับและพัฒนาองค์ความรู้วิจัยเพื่อท้องถิ่นในการจัดทำนโยบายสาธารณะในประเด็นเกษตรกรรมยั่งยืนและการจัดการทรัพยากร โดยความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) กับหน่วยงานและองค์กร และ 4) มีการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยชาวบ้านเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงาน และสร้างภาคีเครือข่ายการดำเนินงานโดยการเข้าร่วมกิจกรรม นำเสนอผลการขับเคลื่อนประเด็น และการอบรมเชิงปฏิบัติการ
References
กชกร ชิณะวงศ์. (2548). งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นสื่อความหมายผ่านฐานคิดและประสบการณ์. เชียงใหม่: วนิดาเพลส.
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. (2557). แผนแม่บทแก้ไขปัญหาทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ.
ทัศนีย์ บุญมาภิ และคณะ. (2563). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน 5 ชุมชน เทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ธวิช จินะกาศ และคณะ. (2563). การมีส่วนร่วมในการจัดการช้างและปศุสัตว์ปล่อยเลี้ยงในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง ตำบลทากาศ และตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
นิมิต สาคำ และคณะ. (2563). การมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาที่ดินทำกินของชุมชน ตำบลบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
บัญชา มุแฮ และคณะ. (2563). การสร้างพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษของชุมชนบ้านดอยช้างป่าแป๋สู่วิถีแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 – 2564. (2560, 12 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 123 ก. หน้า 40.
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554. (2554, 10 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอนที่ 33 ก. หน้า 1-18.
ไมตรี นันต๊ะจันทร์. (2557). นวัตกรรมองค์กรเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดลำพูน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สำนักงานจังหวัดลำพูน. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดลำพูน (พ.ศ.2561-2565) ฉบับทบทวน พ.ศ.2564. ลำพูน: สำนักงานจังหวัดลำพูน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น