การมีส่วนร่วมของกลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไรต่อการแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็ก
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, กลุ่มองค์กรไม่แสวงกำไร, การแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็กบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาลักษณะของการมีส่วนร่วมของกลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไรต่อการแก้ไขปัญหาอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ 2. ศึกษาผลของการมีส่วนร่วมของกลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำไรต่อการแก้ไขปัญหาอนามัยแม่และเด็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่าง การวิจัยเชิงเอกสารและการวิจัยเชิงพื้นที่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เจ้าหน้าที่องค์กรไม่แสวงหากำไร อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และชาวบ้านในโครงการ จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก เอกสารโครงการแก้ไขปัญหาอนามัยแม่และเด็ก การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติพรรณนา (Description) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ(Average) ค่าเฉลี่ย (Percentage)
ผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะการมีส่วนร่วมประกอบด้วย 1. ภาวะผู้นำ 2.ทุนทางสังคม 3. การมีส่วนร่วม 4. การสื่อสารอย่างเห็นใจ 2. ผลของการมีส่วนร่วมในพื้นที่นำร่องตำบลปุโรงเด็กฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น 9% และตำบลท่าสาปเด็กฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น 18.1 % ผู้ปกครองมีความตระหนักเรื่องโภชนการในเด็ก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ มีการจดบันทึกเมนูอาหารและปลูกผักไว้บริโภค เกิดการบริการด้านสุขภาพเชิงรุก โดยเน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง สร้างภาคเครือข่ายระดับตำบล
References
จักรินทร์ ปริมานนท์ และคณะ. (2561). ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี : การทบทวนวรรณกรรม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 329 – 340.
ทรงวุฒิ เรืองวาทศิลป์. (2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาในพื้นที่บริการของโรงเรียนล้อมแรดวิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประเวศ วะสี. (2549). การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน : สุขภาวะชุมชนเป็นฐานของสุขภาวะทั้งมวล. นนทบุรี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ.
รุสนา ดอแม็ง และฐปนรรฆ์ ประทีปเกาะ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อผู้ปกครองในการนำเด็กอายุ 0 - 5 ปี รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพื้นฐานของจังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28 (2), 224-235.
วิจารณ์ พานิช. (2552). การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์: เชาวน์ทางปัญญา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ศรีวิภา เลี้ยงพันธุ์สกุล. (2558). โครงการวิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการแก้ปัญหางานอนามัยแม่และเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ (รายงานผลวิจัย). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2563). ข้อมูลบุคลากรจากโปรแกรม HROPS. สืบค้น 9 กันยายน 2564, จาก https://www.sasuk12.com/tsm
อีระฟาน หะยีอีแต และประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ. (2563). รูปแบบการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี จังหวัดยะลา. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 10 (20), 137–146.
องกรณ์ยูนิเฟซประเทศไทย. (2560). การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีใน 14 จังหวัดของประเทศ ไทย พ.ศ. 2558 – 2559. สืบค้น 9 กันยายน 2564, จาก http://bit.ly/MICS5THSOUTH
Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1994). Transformational Leadership Development. Pola Alto, California: Consulting Psychologists.
Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. (1980). Participation place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World development.
McGregor, Dougla. (1960). The Human side of Enterprise. New York: McGraw – Hill Book Company, Inc.
Putnam, Robert. (1993). Making Democracy Work: Civic Traditions in Modern Italy. Princeton: Princeton University.
Rosenstock, Irwin. M. (1974). The Health Belief Model and Prevention Health Behavior. Health Education Monographs, 2(b), 355-385.
United Nation Development Program. (1994). Human Development report 1994. New York: Oxford University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น