การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองของ สาธารณรัฐอินโดนีเซียและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ผู้แต่ง

  • พระครูโกศลธรรมานุสิฐ (ประสิทธิ์ มกรางกูร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • โกเมศ ขวัญเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ลิ่มประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กฎหมาย, รัฐธรรมนูญ, สถาบันการเมือง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาวิวัฒนาการทางการเมือง การปกครอง ตลอดจนรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง 2. เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารในรูปแบบการปกครองตามระบบประธานาธิบดีของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นการศึกษาค้นคว้าเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. วิวัฒนาการทางการเมือง การปกครอง ตลอดจนรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมืองตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีความคล้ายคลึงกัน ด้วยการที่ทั้งสองประเทศมีลักษณะภูมิประเทศเป็นหมู่เกาะจึงเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยความแตกต่างด้านภาษา ชาติพันธุ์ วัฒนธรรมและความคิดทางการเมืองนั้น วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของทั้งสองประเทศถือได้ว่ามีความน่าสนใจ เพราะต่างก็เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติ และต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราชมาเหมือนกัน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหารในรูปแบบการปกครองตามระบบประธานาธิบดี ของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นระบบแบ่งแยกอำนาจ เช่นเดียวกันกับสหรัฐอเมริกา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร คณะรัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของประมุขแห่งรัฐ ฝ่ายบริหารเป็นอิสระต่อการควบคุมต่อรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) ทั้งนี้ ฝ่ายนิติบัญญัติของทั้งสองประเทศมีการใช้รูปแบบรัฐสภาที่แตกต่างกัน โดยรัฐสภาของอินโดนีเซียใช้รูปแบบสภาเดี่ยว ส่วนฟิลิปปินส์ใช้รูปแบบสภาคู่

References

กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. (2563). ASEAN Mini BOOK. กรุงเทพฯ: Page Maker Co.,Ltd.

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2555). เอกสารประกอบการสอนความรู้พื้นฐานทางรัฐศาสตร์. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ณัฐธิดา บุญธรรม. (2556). ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ทวีศักดิ์ เผือกสม. (2547). ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

นงนุช เนาวรัตน์. (2551). ผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ Office of the Ombudsman, Republic of the Philippines. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 1(3), 62-85.

เพ็ชรี สุมิตร. (2557). ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. มหาวิทยาลัยพะเยา.

ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ. (2556). ระบบการปกครองท้องถิ่นของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย.กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ศาสตรินทร์ ตันสุน. (2560). รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองที่เข้มแข็ง: ความสำเร็จของระบอบประชาธิปไตยในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 4(2), 28-46.

สีดา สอนศรี. (2551). ฟิลิปปินส์: จากอดีตสู่ปัจจุบัน (ค.ศ. 1986-2006). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Brown, C. (2003). A Short History of Indonesia. New South Wales: Allen &Unwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27

How to Cite

(ประสิทธิ์ มกรางกูร) พ. ., ขวัญเมือง โ. ., & ลิ่มประเสริฐ ป. . (2022). การศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองของ สาธารณรัฐอินโดนีเซียและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), R77-R87. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255385