การปฏิบัติทางการปกครองตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสถานีตำรวจภูธร พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • จักรกริช ภมรฉ่ำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เกษฎา ผาทอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • อารดา ฉิมมากูร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การปฏิบัติทางการปกครอง, หลักสังคหวัตถุ 4, สถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อการปฏิบัติ เปรียบเทียบความคิดเห็น และเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติทางการปกครองตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 368 คน โดยการแจกแบบสอบถาม ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน  สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติทางการปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยดังนี้ ด้านงานอำนวยการ ด้านงานสืบสวนสอบสวน ด้านงานจราจร และด้านงานป้องกันปราบปราม 2. ผลการเปรียบเทียบพบว่าประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มี เพศ และอายุต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการปกครองตามหลักสังคหวัตถุ 4 ดังนี้ 1) ด้านการอำนวยการ ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจในการให้คำแนะนำ กำกับดูแล โดยใช้วาจาที่เป็นประโยชน์ 2) ด้านงานป้องกันปราบปราม เพิ่มมาตรการป้องกัน ทั้งยาเสพติด และการเกิดอาชญากรรม 3) ด้านงานสืบสวนสอบสวน ไม่ควรปล่อยให้มีคดีตกค้างนาน 4) ด้านงานจราจร ควรให้ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร ระเบียบ ข้อบังคับ แก่นักเรียน และผู้ขับขี่ยานพาหนะ

References

ก้องปิติ อ่อนมาก. (2563). การปฏิบัติงานด้านการป้องกันอาชญากรรมตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(3), 418-430.

ชดาษา อิ่มสำราญ. (2563). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลบางเขน (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ทัชชกร แสงทองดี. (2563). คุณลักษณะภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 2(2), 46-60.

ปนัดดา รักษาแก้ว. (2564). พุทธนวัตกรรมการสื่อสารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 3(2), 16-30.

พระสมุห์พิสิทธิ์ อนาลโย. (2563). การเพิ่มพลังศักยภาพแก่อาสาสมัครกู้ภัยของสมาคมกู้ชีพกู้ภัยคอกช้าง จังหวัดยะลา โดยหลักสังคหวัตถุ 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(1), 17-29.

ภคพร ศรีวิลัย. (2563). ความคิดเห็นของประชาชนต่อภาพลักษณ์ด้านการปฏิบัติงานของข้าราชการ ตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

ภัชลดา สุวรรณนวล และพระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร. (2564). การบริหารจัดการชุมชนตามหลักสังคหวัตถุ 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 325-336.

ภูษิต วิเศษคามินทร์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายการแก้ปัญหาจราจรไปปฏิบัติของกองบังคับการตำรวจจราจร. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 4(1), 61-75.

สมเกียรติ ชุมพล. (2562). พุทธบูรณาการการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลสายไหม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(1), 203-215.

สุอาภา คล่องกระแสสินธุ์. (2562). การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุธรรมของสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 85-100.

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27

How to Cite

ภมรฉ่ำ จ. ., ผาทอง เ. ., & ฉิมมากูร อ. . (2022). การปฏิบัติทางการปกครองตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของสถานีตำรวจภูธร พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), R1-R13. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255377