หลักการและแนวคิดสำหรับการปกครองท้องถิ่นร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

หลักการ, แนวคิด, การปกครองท้องถิ่นร่วมสมัย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอหลักการและแนวคิดสำหรับการปกครองท้องถิ่นร่วมสมัยซึ่งมีความสำคัญต่อการปกครองท้องถิ่น เพราะเป็นรูปแบบหนึ่งที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาประเทศและการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนท้องถิ่นที่มีสภาพปัญหาสังคมวัฒนธรรม ความเป็นอยู่และทรัพยากรธรรมชาติที่แตกต่างกัน ในหลักการและแนวคิดสำหรับการปกครองท้องถิ่นนั้น จะเห็นได้ว่ารัฐบาลซึ่งเป็นกลไกในการบริหารการปกครองของรัฐนั้นย่อมมีภาระหน้าที่อย่างหลากหลายในการบริหารประเทศ อันจะทำให้ประชาชนได้รับความสุขความสบายในการดำรงชีวิตทั้งด้านความมั่นคงแห่งชาติ ในมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แต่ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลจะดูแลและจัดทำบริการให้กับประชาชนได้ทั่วถึงทุกชุมชนท้องถิ่น เพราะอาจจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับความล่าช้าในการดำเนินงานการที่อาจจะไม่สนองตอบต่อความต้องการของแต่ละชุมชนท้องถิ่นได้ รวมทั้งข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณและตัวบุคคล หรือเจ้าหน้าที่ดำเนินงานให้ทั่วถึงได้ เมื่อเป็นเช่นนี้การลดภาระของรัฐบาลโดยการให้ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเองอย่างแท้จริงเพื่อการสนองตอบต่อความต้องการของชุมชนท้องถิ่นจะได้เกิดความสะดวกรวดเร็วและตรงกับความมุ่งประสงค์ของชุมชนท้องถิ่นนั้น ๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเข้าใจในหลักการและรูปแบบสำหรับการปกครองท้องถิ่นร่วมสมัยให้ชัดเจนถ่องแท้เสียก่อน จึงจะสามารถจัดการปกครองท้องถิ่นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพราะการจัดการปกครองท้องถิ่นจำเป็นต้องจัดให้สอดคล้องบริบทของชุมชนท้องถิ่น ทั้งยังเพื่อให้ท้องถิ่นและรัฐสามารถร่วมกันทำงานได้อย่างมีเอกภาพและตอบสนองเจตนารมณ์ของการปกครองท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2548). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการ และมิติใหม่ในอนาคต (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

_______________. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทยว่าด้วยทฤษฎี แนวคิด และหลักการ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

คิสิน กุสลานุภาพ และสุรเชษฐ์ ชิระมณี. (2526). สารานุกรมศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จรูญ สุภาพ. (2531). สารานุกรมรัฐศาสตร์. กรุงเทพ ฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2539). วิสัยทัศน์การเมืองการปกครองและกฎหมาย. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: พิฆเนศพริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

เดโช สวนานนท์. (2545). พจนานุกรมศัพท์การเมือง. กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.

ตระกูล มีชัย. (2538). การกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ: บริษัทสุขุมและบุตร จำกัด.

ติน ปรัชพฤทธิ์. (2535). ศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2542). 100 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. 2440 - 2540 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คบไฟ.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. (2546). ทิศทางการปกครองท้องถิ่นไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2547). สารานุกรมการปกครองท้องถิ่นไทย หมวดแนวคิดพื้นฐาน : รัฐกับการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส.

________. (2564). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 25 กรกฎาคม 2564, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2544). การปกครองส่วนท้องถิ่นกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2537). การกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

________. (2547). การปกครองท้องถิ่นไทยในบริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประทาน คงฤทธิศึกษาการ. (2524). การปกครองเมืองพัทยา. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.

ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล. (2545). การปกครองท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมของประชาชน (เล่มที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2550). กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

สังศิต พิริยะรังสรรค์ และผาสุก พงษ์ไพรจิต. (2535). การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สันสิทธิ์ ชวลิตธำรง. (2546). หลักการบริหารรัฐกิจกับระบบราชการไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สิวาพร สุขเอียด. (2563). การปกครองท้องถิ่น. สืบค้น 4 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/549133.

เสน่ห์ จุ้ยโต.(2530). เอกสารชุดวิชาการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคเรื่องแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนภูมิภาค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07

How to Cite

ราชจันทร์ พ. . (2022). หลักการและแนวคิดสำหรับการปกครองท้องถิ่นร่วมสมัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(6), A133-A150. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255205