พื้นที่ชนบทอย่างชาญฉลาดเพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง: กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, พื้นที่ชนบท, พื้นที่ชนบทที่ชาญฉลาดบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชาญฉลาดของพื้นที่ชนบทในการรองรับการขยายตัวของเมืองด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เครื่องมือในการศึกษาคือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ใช้ข้อมูลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพื้นที่ชนบทที่ชาญฉลาด 7 ปัจจัย รวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสำรวจในพื้นที่ด้วยเครื่องกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก แล้วจัดเก็บในรูปแบบฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการซ้อนทับกันของข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทั้ง 7 ปัจจัย แล้วทำการคิดค่าคะแนนโดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงชั้นเพื่อจำแนกระดับความเหมาะสมของพื้นที่ออกเป็น 3 ระดับคือเหมาะสมมาก ปานกลาง และน้อย
ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรามีความเป็นพื้นที่ชนบทที่ชาญฉลาดระดับปานกลางในการรองรับการขยายตัวของเมืองครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด รองลงมาคือพื้นที่ชนบทที่ชาญฉลาดระดับน้อย และครอบคลุมพื้นที่น้อยที่สุดคือ พื้นที่ชนบทที่ชาญฉลาดระดับมาก โดยพื้นที่ระดับความเหมาะสมมากกระจายอยู่รอบเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
References
กรมธุรกิจพลังงาน. (2562). หลักเกณฑ์การประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายใหม่. สืบค้น 25 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.doeb.go.th/knowledge/new_oil _law.htm.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). หลักเกณฑ์และแนวทางการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2555. มปป.
ชาญกิจ อ่างทอง. (2558). การศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดวงดาว โหมดวัฒนะ และคณะ. (2560). การประเมินพื้นที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และเทคนิคกระบวนการลำดับขั้นเชิงวิเคราะห์ กรณีศึกษาในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 28(3), 35-47.
นิติภัทร วงษ์ปัญญา และ วรธัช วิชชุวาณิชย์. (2560). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ความหนาแน่นของคดีโจรกรรมรถในพื้นที่จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 13(3), 27-40.
ศรีสอาด ตั้งประเสริฐ. (2537). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการประเมินค่าทรัพยากรที่ดิน. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันอาคารเขียวไทย มูลนิธิอาคารเขียวไทย. (2559). หลักเกณฑ์การประเมินการออกแบบเมืองอัจฉริยะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน.
สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการประเมินห้องเรียนคุณภาพ. ม.ป.ท.
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี พ.ศ. 2560. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา.
Derek, M. (2018). Smart Villages Revitalizing Rural Service. Luxembourg: Publications Office of the European Union.
Gunnar, P. (2015). “Smart rural development”. Bulgarian Journal of Agricultural Economics and Management, 60(4), 63-69.
Josephine, S. (2016). Smart Village-The Real Future of India. International Journal of Innovative Research in Information Security (IJIRIS), 6(3), 5-7.
Lucia, N., et. al. (2015). What is smart rural development?. Journal of Rural Studies, 2015(40), 90-101.
Partha, P. & Animesh, G. (2018). Mainstreaming Smart Village in Rural Development: A Framework for Analysis and Policy.India Panchayat Knowledge Portal, 2018, 1-9.
Sarmada, M. K. (2018). Urbanization as a Transformative force. International Journal of Scientific & Engineering Research, 9(3), 1658-1663.
Veronika, Z., et al. (2018). Smart Villages: Comprehensive Review of Initiatives and Practices. Sustainability, 2018(10), 2559-2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น