ประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผู้แต่ง

  • สันติ แป้นอ่ำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อนุวัต กระสังข์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.776 จำนวน 232 ชุด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบบเจาะจง จำนวน 10 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านสรรหา ด้านพัฒนา ด้านการรักษาไว้ และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3. ปัญหาและอุปสรรค พบว่า ปริมาณงานมีมาก สมรรถนะของบุคลากรยังไม่ตรงกับลักษณะงาน ความก้าวหน้าของบุคลากรยังไม่ชัดเจน ข้อเสนอแนะ ต้องปรับอัตรากำลังให้สอดคล้องกับภาระงาน ควรจัดการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ กำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพที่ชัดเจน ปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งสูงขึ้นให้มีความพร้อมทั้งความรู้ และประสบการณ์

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). ประวัติกรมพัฒนาธุรกิจการค้า. สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.dbd.go.th.

กฤษณะ ธรรมาภิมุขกุล. (2561). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษาบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และสาคร ธระที. (2555). การพัฒนาทรัพยากรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บริษัท ป่าสาละ จำกัด. (2562). แนวทางในการบริหารทรัพยากรบุคคลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยที่มีวิธีคิด นโยบาย และวิถีปฏิบัติที่ยั่งยืน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ทุนสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ปิยาพร ห้องแซง. (2555). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงาน สาขาธนาคารออมสิน ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ (2564). บทบาท ผู้นำยุคโควิดต้องสร้างทุกคนให้เป็นผู้บริหาร. สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.prachachat.net

พรทิวา นาคาศัย (2553). คู่มือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า. สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.dbd.go.th

ศตปพร มีสุขศรี. (2561) ปัญหาและผลกระทบในการบริหารงานบุคคลของเทศบาลเมืองควนลัง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27

How to Cite

แป้นอ่ำ ส., กระสังข์ อ. ., & จิตตานุรักษ์ พ. . (2022). ประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), R164-R177. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255108