ธัมมิกสังคมนิยมกับการบริหารจัดการน้ำของชุมชนนครป่าหมาก อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ธัมมิกสังคมนิยม, การบริหารจัดการน้ำชุมชน, ทุนทางธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาและวิเคราะห์ถึงทุนจากธรรรมของคนภายในชุมชนนครป่าหมาก อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ที่นำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารจัดการน้ำ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการสนทนากลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชาวบ้าน และตัวแทนชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำชุมชน จำนวน 12 คน
ผลการวิจัยพบว่า คนภายในชุมชนจำกัดความต้องการของตน ด้วยทุนทางธรรม คือ ทางสายกลาง คนภายในชุมชนมีความรักสามัคคี ด้วยทุนทางธรรม คือ ความเมตตา และคนภายในชุมชนทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ด้วยทุนทางธรรม คือ การเสียสละ ธรรมเหล่านี้นำไปสู่การเป็นธัมมิกสังคมนิยม อันเป็นธรรมและสังคมที่ทำให้การบริหารจัดการน้ำของชุมชนนครป่าหมากประสบกับความสำเร็จ
References
ขวัญนภา สุขคร. (2557). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดทำฝายชะลอน้ำ กรณีตัวอย่างชุมชนบ้านกิ่วท่าล่าง-ท่าใต้ ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 255-267.
ฐกร กาญจน์จิรเดชและคณะ. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนของจังหวัดอุทัยธานี ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 537-552.
ณชพงศ จันจุฬา. (2552). การจัดการน้ำแบบรัฐและแบบชาวบ้านในพื้นที่ตำบลกาเยาะมาตี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 6(1), 28-41.
พระธรรมโกษาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2548). ธัมมิกสังคมนิยม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
มูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). การบริหารจัดการน้ำโดยชุมชนตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพฯ: สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน).
มูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564). ชุมชนนครป่าหมาก. สืบค้น 10 มิถุนายน 2564, จาก https://www.utokapat.org/.
สมาชิกชุมชนนครป่าหมาก. (2564, 6 เมษายน). [การสนทนากลุ่ม].
ไสว บุญมา. (2549). โต้คลื่นลูกที่ 4 เมื่อความพอเพียง คือ คำตอบ. กรุงเทพฯ: บริษัทเนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ปจำกัด (มหาชน).
อภิชัย พันธเสน. (2558). พุทธเศรษฐศาสตร์ วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่างๆ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน).
The Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB). (2015). The Philosophy of Sufficiency Economy. Bangkok: Amarin Printing and Publishing PLC.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น