การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพึ่งตนเองของกลุ่มอาชีพทอผ้าพื้นเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
สภาพปัจจุบัน, สภาพที่พึงประสงค์, การพึ่งตนเอง, กลุ่มอาชีพทอผ้าพื้นเมืองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพึ่งตนเอง 2. เพื่อศึกษาความต้องการในการพึ่งตนเอง ของกลุ่มอาชีพทอผ้าพื้นเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วยการวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา เรียบเรียงและจำแนกอย่างเป็นระบบ และการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 กับกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 80 คน จาก 100 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการ (PNI )
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันในการพึ่งตนเอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.94, S.D.= 0.81) 2. สภาพที่พึงประสงค์ในการพึ่งตนเองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.63, S.D.= 0.58) 3. ความต้องการในการพึ่งตนเอง ของกลุ่มอาชีพทอผ้าพื้นเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ระหว่าง 0.03 ถึง 0.47 จากต่ำไปสูง คือ 1) ด้านสังคม 2) ด้านทรัพยากรธรรมชาติ 3) ด้านจิตใจ 4) ด้านเศรษฐกิจ 5) ด้านเทคโนโลยี
References
กาญจนา แก้วเทพ และกนกศักดิ์ แก้วเทพ (2530). การพึ่งพาตนเอง : ศักยภาพในการพัฒนาของชนบท. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
คณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติรวบรวมกฎหมายที่สนับสนุนในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). ศาสตร์ของพระราชา : ผู้นำโลกในการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ชนาภรณ์ อยู่ผาสุก และคณะ. (2562). การพึ่งตนเองของชุมชนบ้านดอนพรม ตำบลดอนคา อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2564, จาก http : //publication.npru.ac.th>bitstream/123456789/743/1
ธวัชชัย พินิจใหม่ และคณะ. (2558). การพึ่งตนเองของวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้านนาโพธิ์ ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(3), 70-80.
ประเวศ วะสี. (2541). ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ สังคม และศีลธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.
ไพโรจน์ ภัทรนรากุล. ( 2545). ยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติตามแนวทางชุมชนพึ่งตนเองแบบยั่งยืน : กรอบนโยบายและตัวแบบการจัดการ. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 42(3), 1-73.
ภมรรัตน์ สุธรรม. (2546). พลวัตชุมชนกับการพึ่งตนเองในภาคตะวันตก. กรุงเทพฯ: สถาบันวิถีทรรศน์.
มณีรัตน์ กุลวงษ์และคณะ. (2559). รูปแบบการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 11(1), 165-174.
วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2555). ผ้าทอกับชีวิตคนไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2546). ทฤษฎีและกลยุทธการพัฒนาสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2547). กำไรของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.).
สำนักนโยบายและแผน. (2560). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
สุจินดา เจียมศรีพงษ์ และปิยวัน เพชรหมี. (2558). การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย : กรณีศึกษา ผ้าทอลายโบราณ. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(4), 62-85.
สุภาภรณ์ เชียงใหม่ และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2560). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าไหมแพรวากรณีศึกษากลุ่มทอผ้าไหมแพรวา ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. สืบค้น 21 สิงหาคม 2564, จาก https://conference.kku.ac.th /colaimg/files/articles/ad8a2-o-111-.pdf
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารีวรรณ หัสดิน. (2559). ภูมิปัญญาและการสืบทอดผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่ จังหวัดนครนายก. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 17(32), 73-88.
อำนาจ เมฆนพรัตน์. (2543). การพึ่งตนเองของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น