ภาวะหลังสมัยใหม่ในการสื่อสารด้วยการแต่งหน้าของตัวละครเอก ในละครเรื่อง “ล่า”

ผู้แต่ง

  • กฤษณ์ คำนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

หลังสมัยใหม่, การสื่อสาร, การแต่งหน้า, ตัวละครเอก, ละครโทรทัศน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะความสัมพันธ์จากการแต่งหน้าของตัวละครมธุสรในฐานะเป็นตัวสื่อและตัวสาร และวิธีการประกอบสร้างความหมายด้วยการแต่งหน้าของตัวละครมธุสรในละครเรื่อง “ล่า” ผลการศึกษาพบว่า การแต่งหน้าได้ทำให้สื่อประเภทหนึ่งกลายไปเป็นสารในสื่ออีกประเภทหนึ่ง ทั้งนี้ภาวะหลังสมัยใหม่ได้มีผลต่อการสร้างความหมายด้วยการแต่งหน้าของตัวละคร 6 มิติ คือ 1. การสร้างความหมายตามแนวทางสัญญวิทยาด้วยการใช้สัญลักษณ์และความเป็นคู่ตรงข้าม 2. สัมพันธบทในลักษณะของการทิ้งร่องรอยที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนและการอ้างอิงถึงโดยอ้อมที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างไม่ชัดเจน 3. การผลิตซ้ำ ได้ผลิตซ้ำภาพตัวแทนด้วยการแต่งหน้าของตัวละครที่มีระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกัน 4. การยุบรวมความหมาย เป็นการยุบความหมายระหว่างความเป็นมธุสรและความเป็นตัวละครอื่น ๆ และการยุบรวมความหมายระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกแห่งจินตนาการ 5. การปะติดปะต่อ เป็นการปะติดปะต่อในการแต่งหน้าระหว่างโครงสร้างของการแต่งหน้าและองค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ และการปะติดปะต่อระหว่างการแต่งหน้า ทรงผม เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ และ 6. การรื้อสร้างความหมาย ได้แสดงให้เห็นถึงตัวตนของการสื่อสารจากผู้ทำการสื่อสารที่สามารถสื่อความหมายได้ตามสถานภาพ บทบาท และบริบทที่แตกต่างกันออกไป

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์จำกัด.

________. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กฤษณ์ ทองเลิศ. (2554). การผสานรูปแบบ การสื่อความหมายและจินตสาระของผู้รับสารเป้าหมาย ที่มีต่องานภาพถ่ายกับลายลักษณ์อักษรในงานโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยชนะ จารุวรรณากร. (2548). การสร้างสรรค์ภาพถ่ายสิ่งพิมพ์โฆษณาสินค้าโดยอาศัยทฤษฎีเกสตัลต์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานฤมิตศิลป์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิธิดา แสงสิงแก้ว และนันทิยา ดวงภุมเมศ. (2563). แนวทางการสร้างสังคมเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล:เมื่อ “เมืองทั่วถึง” เป็นได้ทั้ง “สื่อ” และ “สาร” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง. วารสารศาสตร์, 13(1), 135-159.

ปิยนันท์ พัชรสำราญเดช. (2548). การถอดรหัสภาพตัวแทนจากภาพยนตร์และการ์ตูนทางโทรทัศน์ของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูนสุข ตันพรหม. (2546). เล่าเรื่อง เรื่องเล่า. กรุงเทพฯ: มิ่งขวัญ.

วิรยาพร กมลธรรม. (2560). ความรุนแรงที่ปรากฏในสื่อ กรณีศึกษา ละครโทรทัศน์เรื่อง “ล่า 2017”. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริชัย ศิริกายะ. (2558). แบบจำลองการสื่อสารในยุคดิจิทัล. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 13(15), 8-13.

Holquist, M. (1990). Dialogism: Bakhtin and his world (2nd Edition). London: Routledge.

McKee, P. (1948). The teaching of reading in the elementary school. Boston: Houghton Mifflin.

McLuhan, M. (1964). Understanding media: The extensions of man. New York: McGraw-Hill.

Rail, G. (1998). Sport and Postmodern Times. New York: State University of New York Press.

Sahakian, W., & Sahakian, M. (1966). Ideas of great philosophers. New York: Barnes & Noble.

Shaw, H. (1973). A Complete Course in Freshman English (7th ed). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-21

How to Cite

คำนนท์ ก. (2022). ภาวะหลังสมัยใหม่ในการสื่อสารด้วยการแต่งหน้าของตัวละครเอก ในละครเรื่อง “ล่า” . วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(2), 379–393. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/254289