การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ปาริชาติ สีพันธ์บุญ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วัลนิกา ฉลากบาง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • เอกลักษณ์ เพียสา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

ชุมชนการเรียนรู้, วิชาชีพ, โรงเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นสี่ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและศึกษารายกรณีโรงเรียนต้นแบบ การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบความสมบูรณ์ และขั้นตอนที่ 4 นำเสนอบทสรุปรายงาน

ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 ปัจจัยหลัก คือ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารนั้นมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นทางปัญญาที่คำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2) บรรยากาศและวัฒนธรรม ได้สร้างความสัมพันธ์ที่อบอุ่นและสนับสนุนตามมาตรฐาน การปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมของโรงเรียน 3) วิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ที่มี การสร้างการเผยแพร่ และการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ 4) การรับรู้ความสามารถร่วมกันของครูที่ความเชื่อร่วมกัน มีส่วนร่วมในการทำงาน ยอมรับนับถือกัน ยึดเป้าหมายร่วมกัน ติดต่อสื่อสารที่ดีและไว้วางใจกัน และ 5) โครงสร้างโรงเรียนที่มีสายการบังคับบัญชา กฎระเบียบ และแนวปฏิบัติการมอบหมายงาน และกระจายอำนาจที่ชัดเจน

References

ธันยพร บุญรักษา. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

บุญมี เลิศศึกษากุล. (2556). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบวิชาชีพในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วาสนา ทองทวียิ่งยศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาปทุมธานี). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สหัส แก้วยัง. (2561). การศึกษาไทย…ไปถึงไหนแล้ว??. สืบค้น 19 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.kroobannok.com/85178

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2556). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและปฏิบัติศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. กรุงเทพฯ: วิรัตน์เอ็ดคูเคชั่น.

อภิสิทธิ์ อุคำ. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อมรา จำรูญศิริ. (2555). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Andrews, D. & Lewis, M. (2007). Transforming practice from within: The power ofthe professional learning community. in L. Stoll & K.S. Louis (eds) Professional learning communities: Divergence, depth and dilemmas. Maidenhead: Open University Press.

Giles, C., & Hargreaves, A. (2006). The sustainability of innovative schools as Learning organizations and professional learning communities during standardized reform. Retrieved on August 15, 2019, from: http://www.sagepub.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-21

How to Cite

สีพันธ์บุญ ป., ฉลากบาง ว., & เพียสา เ. (2022). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(2), 121–133. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/254246