การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัด ของเจ้าอาวาสในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • พระครูอาทรวรธรรม (บุญธรรม หมื่นคลัง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ประสิทธิภาพ, การบริหารจัดการวัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ความสัมพันธ์และนำเสนอการพัฒนา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการวัดตามบทบาทหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (  = 3.81, S.D. = .296) 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่าประสิทธิภาพการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการวัดตามหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัด ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และหลักธรรมพละ 4 มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการวัดตามหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัด ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เช่นกัน 3. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดของเจ้าอาวาสในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีปัจจัยที่เป็นตัวชี้วัด 4 ด้าน คือ 1) คุณภาพของงาน (Quality) 2) ปริมาณงาน (Quantity) 3) เวลา (Time) 4) ค่าใช้จ่าย (Costs)

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซีเนสอาร์แอนด์ดี.

พระครูไพโรจน์ภัทรคุณ (วิโรจน์ ภทฺทปญฺโ). (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของเจ้าอาวาสในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 14 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิธานสุพัฒนกิจ (วินา นนฺทิโย/อินทร์อยู่). (2559). การบริหารการพัฒนาวัด เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของประชาชน ในจังหวัดระยอง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระครูวิโรจน์อินทคุณ (เอกชัย อินทรโชโต). (2562). การพัฒนาสมรรถนะเจ้าอาวาสตามหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการงานกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดจันทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิสุทธานันทคุณ (สุรศักดิ์ วิสุทฺธาจาโร). (2558). การบริหารจัดการวัดเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระครูสมุห์พรชัย ธีรปญฺโญ. (2563). การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเพชรบุรีในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 3(1), 1-10.

พระจิรวัชร์ สุธมฺโม. (2564). การบริหารจัดการระบบริจาคอิเลคทรอนิกส์ของวัด ในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(2), 30-38.

พระธีรภัทร์ นาถสีโล. (2564). การบริหารจัดการวัดของพระสังฆาธิการเพื่อส่งเสริมความศรัทธา ของประชาชน อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(2), 18-29.

พระมหากังวาล ธีรธมฺโม (ศรชัย). (2558). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

พระมหาทรงศักดิ์ ชยวฑฺฒโน (หงษ์วิลัย). (2562). การพัฒนาศักยภาพพระสังฆาธิการในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธฤติ รุ่งชัยวิทูร. (2557). รูปแบบการพัฒนาพระสังฆาธิการ เพื่อประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาพชร กิตฺติวรเมธี. (2562). ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในการบริหารจัดการวัด จังหวัดสระแก้ว. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 2(1), 1-9.

พระมหายุทธพิชัย สิริชโย. (2561). การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการของเทศบาลในอำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 1(2), 39-49.

พระสมุห์ศรัทธา วิสุทฺโธ. (2562). สภาพการบริหารจัดการวัดในอำเภอเมือง จังหวัดพชรบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 2(2), 11-19.

พระอนพัทย์ ฐิตธมฺโม. (2564). การส่งเสริมความสมานฉันท์ตามแนวพระพุทธศาสนาสำหรับชุมชนของวัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(1), 22-31.

พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร). (2563). การบริหารการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามหลักพุทธธรรม. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 3(2), 60-66.

สถาบันพระสังฆาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2558). คู่มือพระสังฆาธิการ.กรุงเทพฯ: สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-21

How to Cite

(บุญธรรม หมื่นคลัง) พ., (โชว์ ทสฺสนีโย) พ. ., & พุทฺธิสาโร พ. . (2022). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัด ของเจ้าอาวาสในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(2), 239–251. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/254212