การพัฒนาการบริหารจัดการท่องเที่ยววิถีพุทธ ของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • พระครูสังฆรักษ์มุนินทร์ มุนินฺทโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ธิลาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การบริหารจัดการ, การท่องเที่ยววิถีพุทธของวัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป องค์ประกอบและนำเสนอการพัฒนา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการวิจัยพบว่า 1. วัดมีศิลปะวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลาย มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์งดงามประชาชนเคารพสักการะบูชา มีพื้นที่ร่มรื่นเหมาะสมกับการปฏิบัติธรรม มีแหล่งโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาที่น่าศึกษาเรียนรู้ แต่พระสงฆ์ขาดความรู้ในการบูรณะพุทธโบราณสถาน ขาดการประชาสัมพันธ์เผยแผ่ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยววิถีพุทธ ขาดงบประมาณในการพัฒนาวัดให้เป็นแห่งท่องเที่ยว เป็นต้น 2. กระบวนการ ได้แก่ ประชุมร่วมกับชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ ในการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธ  กำหนดตำแหน่งงานแบ่งงานตามสายงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน มีเจ้าอาวาสเป็นผู้ตัดสินใจสูงสุด 3. การพัฒนา ได้แก่ 1) ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว 3) ด้านเส้นทางคมนาคมการท่องเที่ยว 4) ด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องการท่องเที่ยว 5) ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยว

References

กรรณิกา คำดี. (2558). วัดและศาสนสถานในมิติของการท่องเที่ยว. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 116.

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ. (2563). การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. สืบค้น 21 สิงหาคม 2563, จาก https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive _journal/oct_dec_12/pdf/aw019.pdf

ณัฐวรรธน์ สงมรัมย์. (2562). การจัดการการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาของวัดพระพุทธบาทวัดศาลาแดง และวัดพระพุทธฉาย (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นิลรัตน์ กลิ่นจันทร์ และคณะ. (2553). ศึกษาศาสนสถานที่สำคัญต่อการอนุรักษ์การท่องเที่ยวของวัด ในกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสันติธรรมาภิรัต (บุญชัย สนฺติกโร). (2557). ศาสนสถานแหล่งท่องเที่ยวในพระพุทธศาสนา โดยทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและวิจัยเชิงพรรณนา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมาปริทัศน์, 8(1), 92-93.

พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2561). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการเชิงพุทธ. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2554). รูปแบบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทวัดในกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุริยา มะสันเทียะ. (2558). ประสิทธิผลของกลยุทธ์การตลาดที่มีผลต่อการส่งเสริมคุณค่าการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาพระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 10(1), 35-36.

ราณี อสิชัยกุล. (2546). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาประสบการณ์วิชาชีพการจัดการการท่องเที่ยว. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2533). การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ภาคพัฒนาตำราและเอกสารวิชาการ หน่วยศึกษานิเทศก์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-23

How to Cite

มุนินฺทโร พ. ., ธิลาว ป., & กิตฺติโสภโณ พ. . (2022). การพัฒนาการบริหารจัดการท่องเที่ยววิถีพุทธ ของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(1), 334–347. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/254201