กลยุทธ์การส่งเสริมการปฏิบัติธรรมแก่ประชาชนของสำนักปฏิบัติธรรม ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การส่งเสริม, การปฏิบัติธรรม, สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป กระบวนการและนำเสนอกลยุทธ์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ 8 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมมีความเอาใจใส่ในการเผยแผ่พระธรรม แต่ยังขาดวิสัยทัศน์ในการปรับปรุงสถานที่ ในการบริหารจัดการ พระวิทยากรขาดประสบการณ์ในการปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ขาดการประสานความร่วมมือเรื่องวิทยากรกับสำนักปฏิบัติธรรมอื่น 2. หลักการบริหารจัดการ POSDC กับ กลยุทธ์การส่งเสริมการปฏิบัติธรรมแก่ประชาชนของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความสัมพันธ์กัน 3. กลยุทธ์การส่งเสริม ได้แก่ การวางแผนโครงการเพื่อปฏิบัติงาน จัดที่พัก อาคารปฏิบัติธรรม ให้มีความสะอาด พร้อมใช้งานได้ การแบ่งงานและการมอบหมายอำนาจหน้าที่การงาน การประสานงานสร้างความสามัคคีและประสานประโยชน์ร่วมกัน การติดตามและประเมินผลงาน การจัดทำบัญชี รายรับ–จ่ายให้เป็นระบบ โปร่งใส และชัดเจน เป็นต้น
References
กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
พระครูวิจิตรธรรมวิภัช (บุญเลิศ ปญฺญาวุโธ). (2558). การพัฒนาการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูอุทัยกิจจารักษ์ (สุรางค์ สุจิณฺโณ). (2557). รูปแบบการบริหารจัดการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองคณะสงฆ์ ภาค 2 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาวีระชัย ชยวีโร. (2555). การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศาสนสมบัติวัดของคณะสงฆ์ไทย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสนธยา ชมพู. (2552). ยุทธศาสตร์การเผยแผ่ศาสนธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ กรณีวัดพระธรรมกายและวัดหนองป่าพง (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2553). ข้อมูลสถิติสำรวจสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ประจวบคีรีขันธ์: สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
ณัฎฐวรรณ พงษ์อินทราภรณ์. (2564). ความพึงพอใจของสตรีต่อการปฏิบัติธรรมในวัดหนองบัวหิ่ง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(2), 48-56.
พระครูสมุห์พรชัย ธีรปญฺโญ. (2563). การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเพชรบุรีในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 3(1), 1-10.
พระทรงศักดิ์ ถิรธมฺโม. (2564). ผลสัมฤทธิ์จากการปฏิบัติธรรมของประชาชนที่วัดมเหยงคณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(1), 57-64.
พระสมุห์สุรินทร์ รตนโชโตและคณะ. (2562). ความพึงพอใจของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อการจัดปฏิบัติธรรมของวัดป่าพุทธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(2), 1-10.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น