บทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ เพื่อสวัสดิการชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
บทบาทพระสงฆ์, การบริหารจัดการ, กลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป กระบวนการและนำเสนอบทบาทของพระสงฆ์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มสัจจะออมทรัพย์มีการส่งเสริมเรื่องการจัดทำบัญชี เอกสาร หลักฐานต่างๆ ของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ให้มีความชัดเจนชัดเจนเป็นปัจจุบันสามารถตรวจสอบได้ โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาช่วยในการบริหารกลุ่ม 2. กระบวนการในการส่งเสริมกลุ่ม ได้แก่ มีการแสวงแนวร่วมในการจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ มีการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ของกลุ่มเพื่อถือเป็นข้อปฏิบัติ มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ดำเนินกิจกรรมหรือการส่งเสริมการเรียนรู้จักคุณธรรมคือความพร้อมที่จะให้เกิดทำการพัฒนาหรือความเจริญรุ่งเรืองสู่ชุมชนและยังประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเข้าในบทบาทให้การเรียนรู้และบทบาทส่งเสริมคุณธรรม 3. บทบาทของพระสงฆ์ ประกอบด้วย บทบาทด้านการตัดสินใจ การวางแผน การจัดองค์การ การสื่อสาร การใช้อิทธิพลจูงใจ การประสานงาน และการประเมินผล
References
ชินรัตน์ ขุณณรงค์. (2555). กิจกรรมต่อยอดกับการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อ พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต บ้านหนองน้ำจืด (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนาชัย สุขวณิช. (2555). การบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พระฐาณี ฐิตวิริโย (จองเจน). (2552). การพัฒนาขีดความสามารถของพระสงฆ์เพื่อหนุนเสริมการแก้ไข ปัญหาความยากจน (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารศาสตร์). เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
พระมหาประพันธ์ สิริปญโญ (ไทยใหญ่). (2557). บทบาทพระสงฆ์ต่อการส่งเสริมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ลักขณา เติมศิริกุลชัย. (2544). ทุนทางสังคมกับการเคลื่อนไหวสุขภาพ : กรณีศึกษากลุ่มสัจจะออมทรัพย์จังหวัดตราด (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
วรรณรา ชื่นวัฒนาและคณะ. (2552). รูปแบบการออมและแนวทางส่งเสริมการออมสำหรับประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 4 จังหวัด ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมาและชัยภูมิ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุริยา รักการศิลป์. (2553). บทบาทพระสงฆ์กับพลวัตเศรษฐกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค (เศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชน). สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
อุทัย ดุลยเกษม และอรศรี งามวิทยาพงศ์. (2540). ภาพการศึกษากับชุมชน : กรอบแนวคิดและข้อเสนอในการศึกษาวิจัย. กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อุทิศ จิตเงิน. (2544). พุทธปรัชญาเพื่อพลังชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาสี่แยกอินโด จีน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น