รูปแบบการบริหารจัดการวัดที่เป็นสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูภาวนาคุณาภรณ์ (ทรงศักดิ์ กิตฺติธโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ธิลาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, สำนักปฏิบัติธรรม, จังหวัดสระบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป ปัจจัยที่ส่งผลและนำเสนอรูปแบบ การบริหารจัดการวัดที่เป็นสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสระบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 25 รูปหรือคน ได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่มีค่าดัชนีวัดความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ 1.00 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการสนทนากลุ่มเฉพาะร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1. สำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสระบุรีมีพื้นที่ มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีความสัปปายะและมีพระวิปัสสนาจารย์ผู้ทรงความรู้ด้านกรรมฐานเป็นการเฉพาะ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการ คือ การบริหารบุคคล งบประมาณของภาครัฐ วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการ 3. รูปแบบการบริหารจัดการวัดที่เป็นสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสระบุรี โดยการบูรณาการกับหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย 1) ฉันทะ : รักและศรัทธาในการทำงาน 2) วิริยะ : มีการพัฒนาสม่ำเสมอและต่อเนื่อง 3) จิตตะ : กล้าเสนอ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ 4) วิมังสา : ไตร่ตรองด้วยปัญญา  

References

กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2553). สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่นประจำปี 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ณัฎฐวรรณ พงษ์อินทราภรณ์. (2564). ความพึงพอใจของสตรีต่อการปฏิบัติธรรมในวัดหนองบัวหิ่ง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(2), 48-56.

ณัฐกานต์ บุญแนบ. (2562). การนำหลักพุทธธรรมมาปลูกฝังให้กับต้นกล้าที่เป็นเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(2), 55-64.

พระครูวิสุทธานันทคุณ (สุรศักดิ์ วิสุทฺธาจาโร). (2558). การบริหารจัดการวัดเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสมุห์พรชัย ธีรปญฺโญ. (2563). การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเพชรบุรีในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 3(1), 1-10.

พระทรงศักดิ์ ถิรธมฺโม. (2564). ผลสัมฤทธิ์จากการปฏิบัติธรรมของประชาชนที่วัดมเหยงคณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 4(1), 57-64.

พระพิพัฒน์ โสภณจิตฺโต ทับงามและคณะ. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักปฏิบัติธรรม ประจำจังหวัดอ่างทอง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางปัญญา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), 222-232.

พระมหานพดล ปุญฺญสุวฑฺฒโก. (2560). ประสิทธิผลการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมุห์สุรินทร์ รตนโชโตและคณะ. (2562). ความพึงพอใจของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อการจัดปฏิบัติธรรมของวัดป่าพุทธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(2), 1-10.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2559). วัดสร้างสุข โลกแห่งสัปปายะ. กรุงเทพฯ: โครงการวัดสร้างสุข สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

สำนักงานจังหวัดสระบุรี. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดสระบุรี (พ.ศ. 2561 – 2564). สระบุรี:สำนักงานจังหวัดสระบุรี.

สำนักงานส่งเสริมพระกรรมฐาน เมือง สระบุรี. (2563). สำนักปฏิบัติธรรมที่ประกาศเป็นทางการจังหวัดสระบุรี. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.madchima.org

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-21

How to Cite

(ทรงศักดิ์ กิตฺติธโร) พ. ., ธิลาว ป., & สุนนฺโท พ. (2022). รูปแบบการบริหารจัดการวัดที่เป็นสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดสระบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(2), 338–351. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/254108