แนวทางการพัฒนาโบราณสถานคอกช้างเผือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • ช่อพฤกษ์ ผิวกู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

การพัฒนา, โบราณสถาน, คอกช้างเผือก

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการโบราณสถานคอกช้างเผือก 2. เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาโบราณสถานคอกช้างเผือกให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม พบว่า  มีการใช้พื้นที่โบราณสถานคอกช้างเผือกผิดวัตถุประสงค์โดยถูกนำไปใช้เป็นสถานที่จอดรถและเป็นเส้นทางผ่านสำหรับบุคคลที่เดินทางไปมายังประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเล่นการพนันหรือซื้อสินค้าปลอดภาษีที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเมยใกล้กับโบราณสถาน ปัญหาความปลอดภัยของโบราณสถานซึ่งเป็นพื้นที่โล่งและเป็นอิฐที่ง่ายต่อการพุพัง อีกทั้งยังขาดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และประชาชนในการทำนุบำรุงสถานที่อย่างต่อเนื่อง ขาดการพัฒนาผลักดันสถานที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งโบราณสถานคอกช้างเผือกเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญจึงควรพัฒนาโบราณสถานคอกช้างเผือกให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมโดยการเสนอแนวทางการพัฒนาคือรูปแบบปกปักรักษา แบ่งการพัฒนาออกเป็น 12 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการมีส่วนร่วม 2. ด้านความรับผิดชอบ 3. ด้านความเชี่ยวชาญ 4. ด้านความปลอดภัย 5. ด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 6. ด้านกฎระเบียบและกฎหมาย 7. ด้านการเรียนรู้เสมือนจริง 8. ด้านการบริหาร 9. ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ 10. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 11. ด้านความเป็นเจ้าของ 12. ด้านเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและส่งผลให้โบราณสถานเป็นที่รู้จักของผู้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2564). ความหมายและความสำคัญของโบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/std210550/28/4.pdf

กรมศิลปากร. (2564). ประกาศกรมศิลปากร เรื่องขึ้นทะเบียนโบราณสถาน (โบราณสถานคอกช้างเผือก กรุงเทพมหานคร). สืบค้น 18 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.finearts.go.th/main/view/9280

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ จำกัด.

ไกรราชกช พลรัตน์. (2559). รูปแบบการฝึกอบรมยุวมัคคุเทศก์เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานสต๊อก๊อกธมด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา (วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา) ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์.

ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ และคณะ. (2562). การพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ (รายงานการวิจัย). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์.

นภสร โศรกศรี. (2562). อัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมชุมชนตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี : การจัดการเพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรียา หิรัญประดิษฐ์. (2564). ความรู้จากสารานุกรมสุโขทัยศึกษา. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.stou.ac.th

พีรวัชร์ ราชิวงศ์.(2561). แนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถานในวัดมณีวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มติชนออนไลน์. (2564). ปิดเส้นทางโบราณสถานคอกช้างเผือก. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.matichon.co.th/newsmonitor/news_716496

ศศิพร ต่ายคำ และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดออนไลน์สินค้าเกษตรอินทรีย์ของวิสากิจชุมชน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2564). ความหมายโบราณสถาน. สืบค้น 25 มีนาคม 2564, จาก https://www.dictionary.orst.go.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23

How to Cite

ผิวกู่ ช. (2023). แนวทางการพัฒนาโบราณสถานคอกช้างเผือกแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(3), 471–485. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/254087