กลไกการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระครูประทีปวัชราภรณ์ (วิเชียร ปญฺญาทีโป) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสุธีวีรบัณฑิต (โชว์ ทสฺสนีโย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ธิลาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ปนัดดา รักษาแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กลไก, การบริหารจัดการ, อธิกรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการบริหารจัดการอธิกรณ์ เปรียบเทียบความคิดเห็นของพระภิกษุสงฆ์ และศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 151 รูป วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง 12 รูปหรือคน วิเคราะห์โดยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของพระภิกษุสงฆ์เกี่ยวกับหลักการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระภิกษุสงฆ์ที่ต่อหลักการบริหารจัดการอธิกรณ์ พบว่า พระภิกษุสงฆ์ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อหลักการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะ คือ เจ้าอาวาสบางรูปไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น ไม่สามารถหาวิธีการหรือเครื่องมือในการระงับอธิกรณ์ได้ บางครั้งที่เกิดอธิกรณ์ขึ้นแล้ว พยายามที่จะไม่เปิดเผยเพราะกลัวเกิดความเสียหาย ทำให้หาทางแก้ไขไม่ถูกต้อง ข้อเสนอแนะ ควรพิจารณาเอาหลักธรรมในการบริหารคณะสงฆ์มาประกอบกับการใช้อธิกรณสมถะ เพื่อเป็นเครื่องมือในการระงับอธิกรณ์

References

กนก แสนประเสริฐ.(2559,กรกฎาคม-ธันวาคม).“หลักการบริหารงานสมัยใหม่กับหลักการบริหารงานเชิงพุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา”.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์. 4 (2): 341 - 355.

ธวัช หนูคำ. (2541). ปัญหาการดำเนินคดีอาญากับพระภิกษุสงฆ์ไทย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

บัญชายุทธ นาคมุจลินท์.(2556).วิเคราะห์การบริหารองค์กรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของศูนย์การ เผยแผ่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดอุทัยธานี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปิยปราชญ์ อาจารสุโภ. (2561). การพัฒนาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในอำเภอเมืองจังหวัดราชบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 1(2), 1-11.

พระมหาพชร กิตฺติวรเมธี. (2562). ภาวะผู้นำของพระสังฆาธิการในการบริหารจัดการวัด จังหวัดสระแก้ว. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 2(1), 1-9.

พระมหาวิเศษ กนฺตธมฺโม. (2562). การจัดการความขัดแย้งตามหลักสาราณียธรรม. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(1), 32-38.

พระมหาสมนึก กิตติโสภโณ (เศวตรัฐกุล). (2556). รูปแบบการลงโทษในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระมหาสรรพสิทธิ์ นาคเสโน. (2562). ประสิทธิภาพการปกครองคณะสงฆ์อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 2(1), 23-33.

พระมหาโสภณ กิตฺติโสภโณ. (2562). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกมน อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(1), 22-31.

พระศรีวิสุทธิคุณ (สฤษดิ์ ประธาตุ). (2556). การศึกษาวิเคราะห์กระบวนแก้ปัญหาในทาง พระพุทธศาสนา: ศึกษาเฉพาะกรณีอธิกรณสมถะ (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พระอนพัทย์ ฐิตธมฺโม. (2564). การส่งเสริมความสมานฉันท์ตามแนวพระพุทธศาสนาสำหรับชุมชนของวัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(1), 22-31.

สำนักงานเจ้าคณะอำเภอบางไทร. (2562). จำนวนพระภิกษุและสามเณรในอำเภอบางไทร. สืบค้น 9 ธันวาคม 2562, จาก https://th.city/tpxBNW

เสวก สุบรรณเกตุ. (2540). บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบริหารคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505-2535 (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-21

How to Cite

(วิเชียร ปญฺญาทีโป) พ., (โชว์ ทสฺสนีโย) พ. ., ธิลาว ป., & รักษาแก้ว ป. . (2022). กลไกการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(2), 194–208. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/253943