รูปแบบการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพ พระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พระสมุห์ธงชัย สุนฺทราจาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ธิลาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การขับเคลื่อน, การส่งเสริมสุขภาวะ, ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพทั่วไป กระบวนการ และ นำเสนอรูปแบบ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 209 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.900 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ค่าความถี่ ค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. พระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมามีการส่งเสริมความรู้ในการดูแลสุขภาพ ร่วมมือกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลพระสงฆ์อาพาธ  2. กระบวนการในการส่งเสริม ได้แก่ การพัฒนาความรู้ช่วยเพิ่มความสามารถของบุคลากรในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพสามารถค้นหาได้จากสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ อินเตอร์เน็ต สื่อออนไลน์ การจัดตั้งพระสงฆ์แกนนำ การส่งเสริมสุขภาพร่วมกับภาคีเครือข่าย 3. รูปแบบการดูแลสุขภาพ คือ การบริโภคอาหารถูกหลักโภชนาการ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม การส่งเสริมสุขภาพร่วมกับภาคีเครือข่าย การพัฒนาสภาพแวดล้อมดี การมีสุขภาพจิตที่ดี

References

ธนิตพล ไชยนันทน์. (2563). วิกฤตสุขภาพพระสงฆ์ไทยนับแสนรายโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เหตุพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ. สืบค้น 24 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.hfocus.org /content/2019/09/17751

พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต (2558). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย. วารสารสำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น, 22(2), 117-118.

พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ). (2551). การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิถีชีวิต พฤติกรรมสุขภาพ และการดูแลสุขภาพ แบบองค์รวมของพระสงฆ์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2561). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชปริยัติ และคณะ. (2562). การส่งเสริมสุขภาวะด้านอาหารและโภชนาการ ของสามเณรในจังหวัดพะเยา (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่ : ภทระ พรีเพรส.

พินิจ ลาภธนานนท์. (2555). สุขภาวะของพระสงฆ์ ปี 2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รวีโรจน์ ศรีคำภา และคณะ. (2561). สุขภาวะพระสงฆ์: การพัฒนารูปแบบสุขภาวะตามแนววิถีพุทธโดยการบูรณาการสาธารณสุขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของจังหวัดพะเยา (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์. สืบค้น 24 มีนาคม 2563, จาก https://www.thaihealth.or.th

สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา. (2563). บัญชีรายชื่อพระสงฆ์อาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด. นครราชสีมา: สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา.

อุ่นเอื้อ สิงห์คำ. (2557). กระบวนการและผลของการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(1), 152.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-23

How to Cite

สุนฺทราจาโร พ. ., กิตฺติโสภโณ พ., & ธิลาว ป. . (2022). รูปแบบการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพ พระสงฆ์ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(1), 318–333. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/253770