กลไกการส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ของอำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • วิจิตรา ศรีสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สัณฐาน ชยนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • จิรัฐ ชวนชม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ทิฆัมพร พันลึกเดช มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การมีงานทำ, กลไกการส่งเสริมการมีงานทำ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทบาท ศึกษาปัจจัยการส่งเสริมให้กิจการกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุประสบผลสำเร็จในการเพิ่มรายได้จากการทำงานและมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานเชิงเศรษฐกิจ และนำเสนอกลไกมาตรการและทางเลือกนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการมีงานทำของผู้สูงอายุโดยการสนับสนุนขององค์กรปกครองท้องถิ่นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ชุมชนและภาคส่วนต่าง ๆ เป็นการวิจัยแบบผสม โดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลักและเชิงปริมาณมาสนับสนุน ซึ่งมีแบบสอบถามในส่วนที่เป็นการสัมภาษณ์รายบุคคลและมีแบบสอบถามในการสำรวจข้อมูลของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบประกอบ นอกจากนั้นยังใช้เทคนิคการประเมินประสิทธิผลการทำงาน ที่ใช้ผลลัพธ์ ผลสำเร็จ เป็นจุดเริ่มต้นถอดบทเรียนตามกรอบตัวชี้วัด

ผลการศึกษาพบว่า 1. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO ) ชุมชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในการส่งเสริมการทำงานผ่านกิจการกลุ่มอาชีพผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบและเป็นตัวอย่างที่ดี 2. ปัจจัยการส่งเสริมให้กิจการ กลุ่มอาชีพผู้สูงอายุประสบผลสำเร็จแสดงถึงคุณค่าของผู้สูงอายุที่เป็นงานอนุรักษ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมภูมิปัญญาของท้องถิ่น 3.ข้อมูลได้จากการถอดบทเรียนมาสังเคราะห์เป็นกลไก พบว่า หน่วยงานรัฐส่วนใหญ่ยังเน้นการส่งเสริมตามความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ และทัศนคติของ ผู้สนับสนุน ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัย

References

จรัญญา วงษ์พรหม และคณะ. (2558). กลไกการส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2562, จาก http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440 _0002.PDF

นงนุช สุนทรชวกานต์. (2552). การสร้างโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ.

สำนักงานจังหวัดยโสธร. (2562). สรุปสถานการณ์ในด้านสังคมและคุณภาพชีวิต. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.yasothon.go.th/web/manage/manage7.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สำนักงานสถิติฯเผยตัวเลขการทำงานของผู้สูงอายุปี 2560. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014 /DocLib14/News/2561/02-61/OldmanWork60.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. (2562). แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2562. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.yasopho.in.th/yasopho/yaso_plan/intro_plan1_3.pdf.

Srisorn, W. (2020a). Work Family Culture and Work Family Benefit of Informal Elderly Laborers. PalArch’s Journal of Archaeology of Egyptology, 17 (2), 145-158.

_______. (2020b). Evaluation of the Relationship Between International Marketing and Employee Retention of Informal Elderly Laborers. PalArch’s Journal of Archaeology of Egyptology, 17(1), 90-102.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-23

How to Cite

ศรีสอน ว. ., ชยนนท์ ส. ., ชวนชม จ. ., & พันลึกเดช ท. . (2022). กลไกการส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานนอกระบบ ของอำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/253696